23 – 25 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน”

16 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาโครงการเครื่องบรรจุกะปิด้วยกรรมวิธีขัดน้ำระบบกึ่งอัตโนมัติ
17 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ร่วมลงพื้นที่ติดตามโครงการเครื่องคัดขนาดปลาหมอความแม่นยำสูงระบบกึ่งอัตโนมัติ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัด อว. ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ  และหน่วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้า 6 จังหวัด ได้แก่จังหวัดร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และสุรินทร์ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน” ในงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดร้อยเอ็ด (เทศกาลข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 22) ตั้งแต่วันที่ 23 – 25 ธันวาคม 2565 ณ บริเวณลานสาเกตนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

โดยไดัรับเกียรติจาก นายประภัตร โพธสุทน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน โดยไฮไลท์ของนิทรรศการ อว. ในครั้งนี้ได้แก่ E-Nose (จมูกอิเล็กทรอนิกส์) : หอมข้าว ซึ่งได้รับความสนใจจากหน่วยงานในพื้นที่ เช่น หอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด และ สนง.เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด โดยหอการค้าได้นำข้าวในบูธมาทดสอบวัดความหอมซึ่งค่าที่วัดได้คือ 3.56 ppm โดยนักวิจัยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าในพื้นที่ภาคอีสาน ที่วัดความหอมของข้าวหอมมะลิได้สูงสุดคือ จ.อุบลราชธานี โดยวัดได้ 7.4 ppm ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แห้งแล้งมาก อีกทั้งได้มีการหารือการนำ E-Nose มาใช้ และวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมความหอมของข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทุ่งกุลา จ.ร้อยเอ็ด ร่วม สนง.เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด และ มทร.อีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด

นอกจากนี้ก็ยังมีนิทรรศการที่ได้รับความสนใจ เช่น training hub สถานีเรียนรู้เพื่อการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่สู่ชุมชนทุ่งกุลาร้องไห้ แผนที่กลุ่มนาแปลงใหญ่ที่ได้รับการยกระดับด้วย ววน. และการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์จากช้าวหอมมะลิ ฯลฯ นอกจากนิทรรศการ อว.ยังร่วมกิจกรรมสาธิตการแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวหอมมะลิ ได้แก่ snack bar ขนมเปี๊ยะ ไอศกรีมเจลาโต้ และข้าวพองอัดแท่งผสมธัญพืช รวมถึงการเสวนา “การรักษาและเพิ่มคุณภาพข้าว ของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และข้าวหอมมะลิจังหวัดร้อยเอ็ด”

 774 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *