16 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาโครงการเครื่องบรรจุกะปิด้วยกรรมวิธีขัดน้ำระบบกึ่งอัตโนมัติ

วันที่ 20 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติ
23 – 25 ธันวาคม 2565 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยปฏิบัติการเครือข่าย อว. ระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมจัดแสดงนิทรรศการ “เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตข้าวหอมมะลิและสินค้าเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูงอย่างยั่งยืน”

16 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ร่วมลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาโครงการเครื่องบรรจุกะปิด้วยกรรมวิธีขัดน้ำระบบกึ่งอัตโนมัติ ภายใต้งบประมาณโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน


พัฒนาโดย : ดร.ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ และคณะ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ติดตั้งและใช้งาน : ณ กลุ่มอาชีพแปรรูปอาหารทะเลบ้านหมก อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เดิมการบรรจุกะปิขัดน้ำ มีขั้นตอนการทำงาน ดังนี้ นำกะปิที่ผ่านการตำและการหมักมาบรรจุในกระปุก ใช้ไม้สากกดให้กะปิอัดแน่น ใช้นิ้วกดเพื่อให้ด้านบนเรียบ ทำการขัดน้ำด้วยการนำใบจากวางด้านบนและใช้ไม้ไผ่ขัดเพื่อให้น้ำกะปิออกจากเนื้อกะปิขึ้นสู่ด้านบน จากกระบวนการดังกล่าวใช้แรงงานคนในการบรรจุทั้งหมด ทำให้ผลิตสินค้าได้ไม่ทันต่อความต้องการของตลาดเครื่องที่พัฒนาขึ้น สามารถบรรจุได้ทั้งแบบกระปุกและแบบหลอด โดยสามารถทำงานทั้ง 2 ส่วนได้พร้อมกัน ส่วนบรรจุแบบกระปุก สามารถอัดกระปิได้ครั้งละ 1 กระปุก บรรจุได้ 2 ขนาด คือ ขนาด 500 และ 1000 กรัม ส่วนบรรจุแบบหลอดพลาสติกสามารถบรรจุได้ครั้งละ 2 หลอด ขนาด 100 กรัม และ 200 กรัมหลังจากการทดลองใช้เครื่องบรรจุกะปิฯ จากเดิมใช้แรงงานคนสามารถบรรจุได้ 20 กระปุกต่อชั่วโมง เป็น 100 กระปุกต่อชั่วโมง ทำให้ลดการใช้แรงงาน สามารถโยกย้ายแรงงานไปผลิตในกระบวนการอื่น ลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการการผลิต และสามารถเพิ่มรายได้จากยอดขายเป็นจำนวนมาก



#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน
#TGI

 231 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *