ประวัติความเป็นมา

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
การวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้การพัฒนาประเทศเท่าทันการเปลี่ยนแปลงโลก

              

สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ สส. ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2545 สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบราชการ ตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545  โดยเป็นการรวมหน่วยงาน 2 หน่วยงาน เข้าด้วยกันซึ่งได้แก่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและกองส่งเสริมเทคโนโลยี โดยทั้ง 2 หน่วยงาน
มีความเป็นมาและภารกิจ ดังนี้

                         ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี (ศท.) เป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2522  เพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีของประเทศ รวมทั้งเป็นองค์กรกลาง
ในการประสานงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศ ด้วยภารระกิจที่สำคัญในช่วงแรก คือ การเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการวิจัยและพัฒนา ต่อมาในปี 2524 ศท. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประสานงานกับศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีแห่งเอเชียและแปซิฟิค (Asia and Pacific Center for Transfer for Transfer of Technology : APCTT) และดำเนินการอุดหนุนการดำเนินงานของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยและสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการอุดหนุนสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนสมาคม มูลนิธิ สถาบันวิชาการและวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเข้มแข็ง ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกสาขา

              นอกจากนี้ ศท. ยังรับผิดชอบในการดำเนินงานด้านการลดอัตราศุลกากรเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม  และดำเนินงานด้านกองทุนหมุนเวียนเพื่อการวิจัยและพัฒนา ในปี พ.ศ. 2525 เพื่อให้มีทุนส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ ทดสอบ เพื่อเพิ่มเติมและรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อการ พัฒนาประเทศปัจจุบันกองทุนดังกล่าวได้ถูกถ่ายโอนภาระกิจให้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติในปี 2545

               ในปี พ.ศ. 2529 กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและพลังงาน ได้จัดตั้งโครงการหมู่บ้านเทคโนโลยีขึ้น โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปถ่ายทอดให้กับชุมชนในพื้นที่ สูบน้ำด้วยไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 หมู่บ้าน ใน 8 จังหวัด  ซึ่ง ศท. รับผิดชอบโครงการดังกล่าวและนำกิจกรรมไปส่งเสริมและถ่ายทอด เช่น การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การถนอมอาหาร การทำวัสดุก่อสร้างจากวัสดุในชนบท การทำเครื่องปั้นดินเผา การปั้นเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เป็นต้น  ซึ่งล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีและการพลังงานทั้งสิ้น

               นอกจากนี้ ศท. ยังได้จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อการเผยแพร่การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ดังปรากฏเป็นเอกสารวิชาการ เรื่อง การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2534  ต่อมาในปี พ.ศ. 2535  ศท. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย และเป็นการสร้างความตระหนักและสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยจัดงานทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค  โดยแต่ละแห่งจะจัดงานคาบเกี่ยววันที่ 18 สิงหาคมของทุกปีจนถึงปัจจุบัน

               กองส่งเสริมเทคโนโลยี (กส.) เป็นหน่วยงานระดับกอง สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 เพื่อดำเนินงานด้านการส่งเสริมและการพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ ศท. ที่มีอยู่เดิม โดยในปีเดียวกันนี้จึงมีโครงการประดิษฐกรรมเพื่อพัฒนาชนบทขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีที่นำไปใช้ในการผลิตทางการ เกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในชนบท และโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยร่วมกับธนาคารกรุงเทพ เป็นโครงการที่กระต้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประดิษฐ์คิดค้นทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการสร้างแรงจูงใจให้แก่บุคคลที่มีความสามารถในด้านการประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องจักร หรือส่วนประกอบ/อุปกรณ์ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมการเกษตร และดำเนินการผลักดันสิ่งประดิษฐ์ไปสู่เชิงพาณิชย์  ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นโครงการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์

              ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 มีการศึกษา การรวม กส. และ ศท. เป็นสำนักส่งเสริมและถ่ายทอเทคโนโลยี(สส.) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จึงได้มีการประสานงานหน่วยงานในสังกัดเพื่อจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีใน รูปแบบต่างๆ เช่น การจัดฝึกอบรมเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยีของกระทรวง และการจัดแสดงนิทรรศการ ทำให้การดำเนินงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี มีรูปแบบชัดเจน และเป็นเอกภาพมากขึ้น และเป็นหน่วยงานหลักในการนำเทคโนโลยีของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงไปเผยแพร่ และถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ อาทิ เอกสารเผยแพร่ วีดีทัศน์ การฝึกอบรม นิทรรศการ เป็นต้น และในปีเดียวกันนี้ สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สส.) ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีแห่งชาติระยะ 10 ปี (พ.ศ.2540-2549) ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี

              ในปี พ.ศ. 2540 สส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภูมิภาค เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมด้วยการสนับสนุนสถาบันการ ศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายในการร่วมมือในการ พัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและมีการนำผลงานไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ต่อ ไป  ทั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศด้านเทคโนโลยีในเครือข่ายด้วยกัน ในช่วงแรกสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่าย 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ต่อมาได้เพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หรือในขณะนั้นเรียกว่า ศูนย์ภูมิภาค 4 แห่ง ต่อมามีการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานด้านการเผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงเป็นที่มาของโครงการคลินิกเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2545 และดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน

              และในปี พ.ศ. 2543 สส. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการจัดงานเทิอดพระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยี ของไทยและงานวันเทคโนโลยีของไทย ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานความก้าวหน้า

             เทคโนโลยีของหน่วยงานในทุกภาคส่วนเชิงบูรณาการ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษาภาคเอกชน และสมาคมองค์กรที่เกี่ยวข้องและเป็นเวทีการซื้อขายเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ ระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2543 เห็นชอบให้เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในฐานะทรงเป็น พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย และกำหนดให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย” ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานเทิด พระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและจัดงานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของ ไทย ขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยจัดแสดงผลงานพระอัจฉริยะภาพด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงคิดค้นพัฒนามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยโดยเฉพาะ เทคโนโลยีฝนหลวงซึ่งเป็นต้นกำเนิด การทำฝนเทียม นอกจากนี้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย เป็นเวทีแสดงผลงานการวิจัยและพัฒนาที่ประสบความสำเร็จภายใต้การดำเนินงาน ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งผลงานจากภาครัฐ ภาคเอกชนไทย สถาบันการศึกษา องค์กรและสมาคมต่างๆ

             ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการและมีโครงการที่ สส.ไดรับผิดชอบเพิ่มขึ้น ได้แก่

            1) คลินิกเทคโนโลยี เป็นกลไกความร่วมมือในการนำผลงานวิจัยและพัฒนาของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสถาบันการศึกษา ถ่ายทอดสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ชุมชน วิสาหกิจชุมชน OTOP และผู้ประกอบการ SMEs มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกลไกการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีไปสู่กลุ่มเป้า หมายนำผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีความพร้อมไปสนับสนุนกระบวนการสร้างผลิตภัณฑ์ ในท้องถิ่น/จังหวัดวิจัยและพัฒนาต่อยอดและขยายผลไปสู่การประยุกต์ใช้ตามความ ต้องการของผู้ใช้ เพื่อผลักดันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในสังคมและ พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

            2) อาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ อสวท. เป็นแนวคิดของผู้บริหารกระทรวงโครงการหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุน ภายใต้โครงการอุดหนุนการดำเนินงานของสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง ประเทศไทยและสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็น โครงการที่สร้างอาสาสมัครให้ทำหน้าที่ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปแพร่ กระจายในภูมิภาคต่างๆ โครงการอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเป็นโครงการที่สร้าง พัฒนาและสรรหาบุคลากร เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไป แพร่กระจายสู่ชุมชนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้ในการประกอบอาชีพและเป็นสะพานในการนำความต้องการของชุมชนมาสู่คลินิก เทคโนโลยี

             ในปี พ.ศ. 2546 สส.ได้รับมอบหมายให้ดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรม เป็นโครงการ
ที่เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งจากในประเทศและจากต่างประเทศโดย มีการพิจารณาคัดเลือกสรรเทคโนโลยีอย่างมีเหตุผล เพื่อเป็นฐานความรู้ทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ ในการผลิต ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและการบริการ โดยใช้วิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่นิยมใช้กันมากที่สุด และใช้ต้นทุนต่ำ ได้แก่ กิจการฝึกอบรม/การสัมนา/การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ฯลฯ  ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้รับความรู้ตลอดจนได้พบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยตรงทำให้สามารถนำไปพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาาาาาพและประสิทธิผล ตลอดจนเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและยังนำไปสู่การสร้างพันธมิตรความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วนอีกด้วย  รวมทั้งมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพการผลิตของภาคการผลิตและอุตสาหกรรม การพัฒนาคุณภาพกำลังคนให้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมต่อไป และโครงการศึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรในกระบวนการผลิตด้วยวิศวกรรมย้อนรอย เป็นกิจกรรมที่สนับสนุนให้มีการพัฒนาสร้างเครื่องจักรที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ รวมทั้งมีราคาเป็นที่ยอมรับและถูกกว่าการนำเข้า โดยวิธีวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) ขึ้นภายในประเทศ เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ซึ่งหลายๆ ประเทศได้นำไปใช้ และประสบผลสำเร็จมาแล้ว โดยมีรูปแบบการทำงานเป็นทีม ระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และสถาบันวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันพัฒนาและสร้างเครื่องจักรตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าเครื่องจักร และการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีวิศวกรรมย้อนรอย ให้แก่บุคลากรไทยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูงขึ้น ปัจจุบันได้ปรับเป็นโครงการศึกษาพัฒนาเทคโนโลยีด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า

             ในปี พ.ศ. 2552 สส.ได้ดำเนินโครงการหมู่บ้านแม่ข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกลไกที่ผลักดันให้มีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับชุมชนอย่างกว้างขวางในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยใช้หมู่บ้านเทคโนโลยี เมื่อปี พ.ศ. 2529 เป็นต้นแบบและนำร่องในการดำเนินงาน และเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันการศึกษา (คลินิคเทคโนโลยีเครือข่าย) และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             ต่อมา ในปี พ.ศ. 2554 ถึง 2556 สส. มีภารกิจดำเนินกิจกรรม/โครงการเพิ่มขึ้น ได้แก่ 

  • โครงการการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
  • โครงการเสริมสร้างศักยภาพครูด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียนทั่วประเทศ
  • การบูรณาการด้าน ว. และ ท. กับกลุ่มจังหวัด
  • โครงการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้าน ว. และ ท. (กรอ.วท.) (สิ้นสุด พ.ศ. 2555)
  • โครงการทันตกรรม (สิ้นสุด พ.ศ. 2555)
  • โครงการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าชุมชนขนาด 1 MW (พ.ศ. 2555 – 2556)
  • โครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติฯ (สิ้นสุด พ.ศ. 2556)

             การผลักดันให้อุตสาหกรรมไทย เกิดความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสร้างเทคโนโลยีและวนัตกรรมขึ้นได้เองภายในประเทศ โดยเฉพาะเครื่องจักรซึ่งเป็นหัวใจหลักของภาคการผลิต ประเทศไทยต้องนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยต้องนำเข้าเครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบจากต่างประเทศมูลค่าไม่่ต่ำกว่า 5 แสนล้านบาทต่อปี และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ประเทศไทยต้องขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการนำเข้าเครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบต่างๆ อีกทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และช่างฝีมือไทย จึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาสร้างเครื่องจักรและชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ขึ้นได้เองภายในประเทศ ทั้งนี้ต้องตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ ผู้ประกอบการทั้งในด้านคุณภาพและราคาที่แข่งขันได้

            การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ของผู้ประกอบการภาคเอกชนในปัจจุบัน พบว่ายังมีพื้นที่ของการพัฒนาธุรกิจจากความต้องการทางเทคโนโลยีอีกมาก เพราะจากการศึกษาเปรียบเทียบระดับความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียนโดย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (พ.ศ. 2556 : ยุทธศาสตร์และแนวทางสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการไทย ที่ตอบสนองอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2559 ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะเป็นผู้นำในกลุ่ม เพราะประเทศมาเลเซียมีระดับความพร้อมด้านเทคโนโลยีสูงกว่าไทย 0.7 และ ไทยสูงกว่า เวียดนาม 0.3 (การจัดลำดับของ WORLD Economic Forum) โดยที่จุดแข็งของการพัฒนาคือ ความหลากหลายของทรัพยากรและวัตถุดิบ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม บุคลากรมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญในสาขาที่หลากหลายหน่วยงานภาครัฐที่พร้อมให้การสนับสนุนมีหลากหลายและผู้ประกอบการมีองค์ความรู้จากประสบการณ์ และโอกาสของการพัฒนา คือ ประเทศมีความจำเป็นที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และงานวิจัยและพัฒนามากขึ้น เพื่อสนองความต้องการองค์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาของการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวทางเศรษฐกิจ และการเปิดรับการลงทุนร่วมกับต่างชาติเป็นการเปิดโอกาสให้ประเทศได้เรียนรู้และดูดซับเทคโนโลยีที่แฝงมาการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นโอกาสในการสร้างหรือขยายตลาดทางเทคโนโลยีที่ไทยมีศักยภาพ และการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศในการวิจัยและพัฒนา

             สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหนึ่งในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดที่จะเสาะหาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการ รวมทั้งลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเทคโนโลยีฯ ดังกล่าวส่วนใหญ่มีต้นแบบมาจากต่างประเทศ หรือแหล่งเฉพาะ และยังไม่มีความเป็นสากล ประกอบกับมีราคาแพงและการซ่อมบำรุงทำได้ยาก และยังไม่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพการใช้งานที่มีความแตกต่างกัน ในแต่ละภาคของประเทศ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะพัฒนาและสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ต้นแบบที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินทางดังกล่าว จะต้องมีการต่อยอดการใช้งานไปสู่ภาคการปฏิบัติ โดยกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิคการสร้าง ตลอดจนการใช้เครื่องจักรให้กับชุมชน เอกชน และอุตสาหกรรม ไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตและลดต้นทุนในการนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย

             การดำเนินงานในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา กิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาเทคโนโลยี สนับสนุนการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ ภาครัฐสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 167 ล้านบาท ก่อให้เกิดผลกระทบเชิงเศรษฐกิจที่คิดเป็นมูลค่า จำนวน 685 ล้านบาท เป็นการดำเนินงานใน 4 โครงการ คือ การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรด้วยกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย (มีการขยายขอบเขตการดำเนินงานและเปลี่ยนชื่อเป็น “การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างเครื่องจักรด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า”) การพัฒนาประดิษฐกรรมเพื่อชนบทการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน และการส่งเสริมสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสู่เชิงพาณิชย์

               จากยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยในส่วนหนึ่งจะเน้นการสนับสนุนการเรียนรู้และการสร้างสรรค์ของเยาวชน สร้างความตระหนักให้ประชาชน เรียนรู้ คิดและทำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์

             ด้วยเหตุผลดังกล่าว สำนักส่งเสริมและถ่่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริม เผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้ตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเผยแพร่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกรูปแบบ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั้งในและต่างประเทศแก่ประชาชนทุกระดับ เพื่อสร้างความตระหนัก ความรู้ความเข้าใจในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนภายในประเทศมีความสนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น มีความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดแบบวิทยาศาสตร์ การใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตนเองและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

             กิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ภายใต้ภารกิจของสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินการจนถึงปัจจุบันผ่านหลายช่องทาง ได้แก่ การจัดนิทรรศการ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมนา/ฝึกอบรม การเผยแพร่ความรู้ผ่านเว็บไซต์ และเอกสารเผยแพร่

             สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในรูปแบบการจัดนิทรรศการโดยมีกิจกรรมหลักและเป็นที่รู้จักทั่วไป ได้แก่

             การจัดงานเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและงานเทคโนโลยีของไทย กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันที่ 19 ตุลาคมของทุกปี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะทรงเป็นพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานจากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านเทคโนโลยีของพระองค์ และเผยแพร่องค์ความรู้อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริ อันเป็นประโยชน์ต่อพสนกนิกรชาวไทย และสามารถปรับใช้ในการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติ รวมถึงเผยแพร่ผลงานทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของภาครัฐและเอกชน ที่คิดค้นพัฒนาโดยคนไทย เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนรับรู้และตระหนักถึงศักยภาพและความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถแข่งขันกับนานาประเทศ อันนำไปสู่ความภาคภูมิใจของคนไทย อีกทั้งเพื่อเป็นเวทีประกาศเกียรติคุณผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของคนไทย ที่มีความโดดเด่นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพานิชย์ นอกจากนี้เป็นการสร้างแรงจูงใจให้แก่เยาวชนโดยเฉพาะในระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาให้สนใจในวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม อันเป็นรากฐานแห่งการสร้างนักเทคโนโลยีและนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพของประเทศในอนาคต

             การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติหรืองานมหกรรมวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเทิดพระเกียรติพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระบิดาแห่งวิทนาศาสตร์ไทย” และให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้รับรู้พระปรีชาสามารถด้านวิทยาศาสาตร์ และเทคโนโลยีของพระองค์ ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้า การวิจัย และพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อเป็นแนวทางนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และสร้างความตระหนักและสร้างกระแสให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ได้รับประโยชน์และใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

             นอกจากนี้ สส. ยังได้ดำเนินกิจกรรมในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การอบรม/สัมนา อาทิเช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ภาคอุตสาหกรรม การสนับสนุน การดำเนินงานสมาคมวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาศักยภาพครูด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโรงเรียนทั่วประเทศ เป็นต้น


  ต่อมาในปี พ.ศ. 2564 มีการออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564
จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมศึกษา

กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (Science, Research and Innovation Promotion and  Utilization Division)
มีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้

(1) จัดทำกลยุทธ์ ประสานและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์กระทรวง ยุทธศาสตร์ภูมิภาค
ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ และยุทธศาสตร์อื่น ๆ ของสำนักงานปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ
และโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการติดตามและประเมินผล
การดำเนินงาน

(2) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาคีในพื้นที่ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
แบบมีส่วนร่วมในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม

(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัย
และนวัตกรรม ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายวิจัยในพื้นที่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หน่วยงานอื่นของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐาน
นวัตกรรม

(4) เสนอแนะมาตรการและแรงจูงใจ และปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง หน้า 11 เล่ม 138 ตอนที่ 15 ก ราชกิจจานุเบกษา 2 มีนาคม 2564

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย

http://www.ttc.ops.go.th/wp-content/uploads/2021/03/กฎกระทรวง.pdf

คำสั่งสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ 61/2564 

เรื่อง การแบ่งงานภายใน และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานภายใต้ในสำกัดงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

http://www.ttc.ops.go.th/wp-content/uploads/2021/03/คำสั่ง-สป.อว.-เลขที่-61-2564-1.pdf

 

              

 4,008 total views,  3 views today