วิสัยทัศน์ พันธกิจ

กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์
ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
” วิสัยทัศน์ “
    วิสัยทัศน์ กปว. “พัฒนาระบบนิเวศทั่วไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก อววน.”

พันธกิจ :

(1) จัดทำกลยุทธ์ ประสานและเชื่อมโยงยุทธศาสตร์กระทรวง ยุทธศาสตร์ภูมิภาค ยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ และยุทธศาสตร์อื่น ๆ ของสำนักงานปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมถึงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

(2) ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบความร่วมมือ กลไกการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน และหน่วยงานภาคในพื้นที่ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแบบมีส่วนร่วมในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม

(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยและนวัตกรรม ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายวิจัยในพื้นที่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นของรัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบนฐานนวัตกรรม

(4) เสนอแนะมาตรการและแรงจูงใจ และปรับปรุงกฎหมายให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมของผู้ประกอบการ

(5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย

ตัวชี้วัดและเป้าหมาย :

1.1 ผลการศึกษาการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ ววน.
(รายงานผลการศึกษา 1 เรื่อง)

1.2 จำนวนผู้เข้ารับการถ่ายทอดความรู้และเรียนรู้ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม/ ฝึกอบรม/ แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการเข้าถึงสื่อในรูปแบบ Lifelong Learning

1.3 ระดับความสำเร็จในการบริหารจัดการศูนย์ความเป็นเลิศด้าน ว. และ ท. (CoE)

2.1 ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน อววน. ตามแผนงาน

2.2 ความสำเร็จในการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการอุดมศึกษา ด้านมาตรฐานการอุดมศึกษา และด้าน ววน. ของประเทศ (STDB)

2.3 ความสำเร็จในการจัดทำฐานข้อมูลกลามกำลังคนศักยภาพสูง (STDB)

3.1 จำนวนผู้ได้รับการถ่ายทอดนวัตกรรมการผลิตมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยกลไก สนับสนุนของ สป.อว.

3.2 จำนวนสถานประกอบการ/ชุมชนที่ใช้ผลงานวิจัยและพัฒนาไปเพิ่มมูลค่า ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้โดยกลไกสนับสนุนของ สป.อว.

3.3 จำนวนผู้ประกอบการที่ใช้ประโยชน์จากอุทยานวิทยาศาสตร์มีขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและการทำวิจัยเพิ่มขึ้น

3.4 มูลค่าผลที่กระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมที่ผู้ประกอบการ/ชุมชน นำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ โดยกลไกสนับสนุนของ สป.อว. (ถ่ายทอดฯ , อุทยานฯ , UBI)

3.5 มูลค่าการลงทุนวิจัยของบริษัทที่มาใช้ประโยชน์ในเขตนวัตกรรม

4.1 แผนส่งเสริมการใช้ประโยชน์ด้าน ววน. ในระดับภาค กลุ่มจังหวัด จังหวัดและท้องถิ่น

5.1 ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ

6.1 ระดับความสำเร็จของผลผลิตการถ่ายทอดเทคโนโลยี เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี”

6.2 ระดับความสำเร็จของผลผลิตการให้บริการเผยแพร่ความรู้ด้าน วทน.

6.1.1 จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้าน วทน.

6.2.2 จำนวนผู้เข้าถึงสื่อดิจิทัลองค์ความรู้ด้าน วทน. ผ่านระบบบริการ

6.2.3 เชิงคุณภาพ : (สงป.) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้าน วทน.”

6.3 ระดับความสำเร็จของโครงการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (นิคมธุรกิจวิทยาศาสตร์ภูมิภาค)
6.3.1 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนหน่วยงานที่รับการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์
6.3.2 เชิงปริมาณ :จำนวนยุทธศาสตร์หลักเกณฑ์ แผน แนวทาง และมาตรการในการส่งเสริมกิจการอุทยาน วิทยาศาสตร์
6.3.3 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนอุทยานวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการให้บริการ 6.3.4 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้ประกอบการที่ได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี 6.3.5 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนโครงการส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยี
6.3.6 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความตระหนักของอุทยานวิทยาศาสตร์
เชิงคุณภาพ : (สงป.) ความพึงพอใจของหน่วยงานที่รับส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (ร้อยละ 80)”

6.4 ระดับความสำเร็จของโครงการเครือข่าย อว. สนับสนุนการใช้ประโยชน์งานด้าน อววน. เพื่อพัฒนาจังหวัด
6.4.1 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้รับบริการงานด้าน อววน.
6.4.2 เชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนแผนงาน/โครงการด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่บรรจุในแผนพัฒนาในระดับพื้นที่
6.4.3 เชิงคุณภาพ : (สงป.) ความพึงพอใจของผู้รับบริการของโครงการเครือข่ายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนการใช้ประโยชน์งานด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาจังหวัด”

6.5 ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน
6.5.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนสถานประกอบการ/ชุมชน ที่ใช้ผลงานวิจัยและพัฒนาไปเพิ่มมูลค่า ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้
6.5.2 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : (สงป.) ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการ OTOP ที่ได้รับการ
ยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.)”

6.6 ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการเริ่มต้นธุรกิจ
       6.6.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนศูนย์ที่ได้รับการสนับสนุน

6.7 ระดับความสำเร็จของโครงการสร้างและพัฒนาวิสาหกิจในระยะเริ่มต้น
      6.7.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้ที่ผ่านหลักสูตรการพัฒนาผู้ประกอบการสู่กระบวนการ
บ่มเพาะในระดับ (Pre-Incubation)
      6.7.2 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้ประกอบการที่เกิดขึ้นใหม่ (Startup companies)
      6.7.3 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนผู้ประกอบการของบริษัทเต็มรูปแบบ (Spin off companies)
      6.7.4 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ: (สงป.) จำนวนการจ้างงาน
      6.7.5 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ”

6.8 ระดับความสำเร็จของโครงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการบริหารจัดการฟาร์ม และสร้างความเป็นอัตลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ภาคใต้ชายแดน
       6.8.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ได้รับการพัฒนายกระดับ สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)
      6.8.2 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) จำนวนเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานฟาร์ม             6.8.3 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ : (สงป.) ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรที่ได้รับการพัฒนายก
               ระดับด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการฟาร์มและการพัฒนายกระดับและสร้าง
               ความเป็นอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์”

6.9 ระดับความสำเร็จของโครงการพัฒนาเมืองศูนย์กลางจังหวัดเป็นเมืองน่าอยู่
      6.9.1 ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : (สงป.) ร้อยละความสำเร็จการก่อสร้างอาคารอำนวยการอุทยาน
               วิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง “

 

 

 

 

 

 

 1 12 2018 3 44 09 PM

 2,092 total views,  1 views today