20 ธันวาคม 2564 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องผลิตวุ้นลูกตาลกรอบ

18 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ จ. กระบี่ เพื่อส่งมอบเครื่องจักร “เครื่องปิ้งย่างปลาแบบสายพานตะแกรงปรับความเร็วร่วมกับหัวแก๊สอินฟาเรดหล่อเย็นด้วยระบบน้ำไหลเวียนเพื่อใช้ในการผลิตแกงไตปลาคั่ว”
วันที่ 20 ธันวาคม 2565 -เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องคั้นและบรรจุน้ำบูดูกึ่งอัตโนมัติ

20 ธันวาคม 2564 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องผลิตวุ้นลูกตาลกรอบ ณ วิสาหิจชุมชนบ้านพังเถียะ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา


.
พัฒนาโดย : อาจารย์นศพร ธรรมโชติ
หน่วยงาน : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย


.
ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน ที่ติดตั้งเพื่อทดสอบการใช้งาน ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านพังเถียะ ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนการปั่น และส่วนการกวนพร้อมให้ความร้อน ในส่วนของการปั่น เครื่องที่พัฒนาขึ้นช่วยลดเวลาและแรงงานในการทำงานมากขึ้น ด้วยการออกแบบองศาของการวางใบมีดและจำนวนใบมีดที่เหมาะกับการปั่นวัตถุดิบ ทำให้การปั่นวัตถุดิบในปริมาณ 10 กิโลกรัม จากเดิมที่เคยใช้เครื่องปั่นขนาด 1 ลิตร ใช้เวลาปั่นประมาณ 2 ชั่วโมง แต่เครื่องที่พัฒนาขึ้นใช้เวลาในการปั่นเพียง 40 นาที ในส่วนของการกวนพร้อมให้ความร้อนนั้นไม่ได้ช่วยลดเวลาในการทำงานแต่ช่วยลดแรงงานในการทำงาน โดยข้อดีของเครื่องที่พัฒนาฯ ในส่วนการกวน .มีข้อดีคือ วัตถุดิบที่นำไปกวนได้รับความร้อนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ต้องกลัววัตถุดิบไหม้ และป้องกันอันตรายจากการประทุของวัตถุดิบที่เกิดจากการโดนความร้อนแล้วกระเด็นใส่ผู้ใช้งาน และเนื่องจากเป็นการกวนแบบอัตโนมัติด้วยใบกวนตามเวลาที่ตั้งไว้ ทำให้สามารถทำงานในส่วนอื่นๆ ควบคู่ไปได้อีกด้วย

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน #TGI

 394 total views,  2 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *