18 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ จ. กระบี่ เพื่อส่งมอบเครื่องจักร “เครื่องปิ้งย่างปลาแบบสายพานตะแกรงปรับความเร็วร่วมกับหัวแก๊สอินฟาเรดหล่อเย็นด้วยระบบน้ำไหลเวียนเพื่อใช้ในการผลิตแกงไตปลาคั่ว”

15 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ตรวจติดตามการพัฒนาเครื่องบดและบรรจุซองผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหารสำเร็จรูประบบกึ่งอัตโนมัติ
20 ธันวาคม 2564 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องผลิตวุ้นลูกตาลกรอบ

18 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ จ. กระบี่ เพื่อส่งมอบเครื่องจักร ภายใต้โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถของภาคผลิตและบริการ “เครื่องปิ้งย่างปลาแบบสายพานตะแกรงปรับความเร็วร่วมกับหัวแก๊สอินฟาเรดหล่อเย็นด้วยระบบน้ำไหลเวียนเพื่อใช้ในการผลิตแกงไตปลาคั่ว”

ผู้พัฒนา : ห้างหุ้นส่วนจำกัด สารินทร์ เอ็นจิเนียริ่ง
ผู้ใช้งาน : บริษัท กินดีพารวย จำกัด

หลักการทำงาน : ระบบการปิ้งย่างแบบสายพานตะแกรงจะอาศัยระบบหัวแก๊สอินฟาเรด 12 หัวจ่าย เป็นแหล่งความร้อนในระบบปิ้งย่าง โดยให้ความร้อนแบบแผ่รังสีความร้อน และมีระบบ cooling หัวแก๊สเพื่อป้องกันการเกิด self – burning effect   มีสายพานตะแกรงสแตนเลสถูกควบคุมความเร็วด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าปรับความเร็วรอบได้ตามที่ผู้ใช้งานต้องการ ใช้ระบบไฟฟ้าควบคุมให้ความแม่นยําเที่ยงตรงของอุณหภูมิและเวลาในการอบด้วยระบบควบคุมอัตโนมัติ โดยกำลังการผลิตของเครื่องสามารถปิ้งย่างปลาซาบะได้ 300 ตัว/ชม. โดยตัวปลาจะเคลื่อนผ่านการให้ความร้อนประมาณ 12 นาที ตัวเครื่องทำจากสแตนเลสชนิด 304 และถูกออกแบบมาให้ล้างทำความสะอาดได้ง่าย

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน #TGI

 558 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *