ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (ศทพ.) Center of Excellence on Medical Biotechnology (CEMB)

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี (Center of Excellence for Innovation in Chemistry)
สป.อว.จับมือ สวทช. และสมาคมเครื่องจักรกลไทย วิจัยพัฒนาเครื่องชั่งและบรรจุอัตโนมัติความเร็วสูง

ศูนย์ฯดำเนินงานในลักษณะของภาคีสถาบันอุดมศึกษาและวิจัย (Inter-University Research Consortium) ซึ่งจะช่วยสร้างวัฒนธรรมทางวิชาการของการทำงานร่วมกัน (New Academic Culture) เกิดการประหยัดจากขนาด (Economy of Scale) การประหยัดจากขอบเขต (Economy of Scope) ตลอดจนการประหยัดจากความเร็ว (Economy of Speed) ของการดำเนินงาน และพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์งานวิจัยของประเทศทดแทนการเดินทางไปต่างประเทศ  นอกจากนี้ยังมีความตั้งใจที่จะขยายเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันภาคีออกไปในภาคเอกชน โดยศูนย์จะสนับสนุนให้เกิดการทำวิจัย และโจทย์วิจัยของบัณฑิตและนักวิจัยหลังปริญญาเอก ของสถาบันภาคีที่นอกจากจะเน้นความเป็นเลิศด้านงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ในส่วนงานวิจัยพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีแล้วยังให้ความสำคัญกับงานวิจัยเพื่อการต่อยอดผลงานวิจัยพื้นฐานดังกล่าวให้เป็นนวัตกรรมที่สามารถไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับตอบโจทย์อุตสาหกรรมยาของประเทศ ควบคู่ไปกับพัฒนาเครือข่ายงานวิจัย พร้อมกับกิจกรรมด้านการสนับสนุนงานวิจัยร่วมกับเอกชน อนึ่งศูนย์มีแผนที่จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีชีวภาพด้านเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Biotechnology) เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการทำวิจัยในสถาบันวิจัยและบุคลากรด้านการผลิตสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยมีความร่วมมือกับสถาบันชั้นนำในต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว พร้อมทั้งประสานงานกับโรงงานต้นแบบด้านการผลิตชีววัตถุที่ได้มาตรฐานและมีอยู่ในประเทศทั้งในภาครัฐและเอกชนเพื่อการฝึกและพัฒนาบัณฑิตให้มีประสบการณ์จริงกับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

นอกจากบทบาทด้านการพัฒนางานวิจัยและบุคลากรแล้วศูนย์ยังมีแผนที่จะสนับสนุนให้เกิดการประสานงานระหว่างภาควิชาการ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆที่มีหน้าที่ที่เกียวข้องกับการผลิตยาชีววัตถุ รวมไปถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่สาธารณะในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมกลุ่มย่อย การเสวนา และการให้ความรู้ผ่านสื่อสาธารณะ และเว็บไซต์เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์และสาธารณสุขแบบองค์รวม

งานวิจัยเด่นของศูนย์ฯ  “โครงการการผลิตอินเตอร์เฟียรอนแกมมาในปริมาณมากเพื่อใช้ทางการแพทย์และการบูรณาการปลายน้ำสำหรับชุดคัดกรองแอนติ-อินเตอร์เฟียรอนแกมมาแอนติบอดีในผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในวัยผู้ใหญ่” อินเตอเฟียรอนแกมมา เป็นไซโตไคน์ที่มีหน้าที่สำคัญด้านภูมิคุ้มกัน และป้องกันการติดเชื้อต่างๆ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย หรือโปรโตซัวในร่างกาย ซึ่งในปัจจุบันได้มีการผลิตรีคอมบิแนนท์อินเตอร์เฟียรอนแกมมา มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ มากมาย นอกจากนี้ยังมีการนำไปใช้ในงานในงานวิจัยพื้นฐานด้านเซลล์วิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยาเชิงโมเลกุล การกระตุ้นสัตว์ทดลอง เป็นต้น ซึ่งการผลิตอินเตอเฟียรอนแกมมานั้นมีต้นทุนสูง ส่งผลให้ยาชนิดนี้มีราคาแพง ทางผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นที่จะผลิตรีคอมบิแนนท์อินเตอเฟียรอนแกมมาให้เป็นต้นแบบของยา สามารถขยายผลการผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรมและส่งเสริมการผลิตได้ในประเทศ และนำอินเตอเฟียรอนแกมมามาประยุกต์ใช้ในงานวิจัย เพื่อพัฒนาชุดทดสอบอย่างง่ายที่สามารถนำไปใช้ในตรวจชีวโมเลกุลที่เป็นเป้าหมายสำคัญในผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในวัยผู้ใหญ่ (adult-onset immunodeficiency, AOID)

ในงานวิจัยโครงการนี้คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับโครงการจัดตั้งศูนย์เสริมสร้างอุตสาหกรรมชีวภาพจากนวัตกรรม อาคารนวัตกรรมชีวภัณฑ์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUBio) โดยการประสานงานของศูนย์ CEMB ในการพัฒนากระบวนการผลิตโปรตีนรีคอมบิแนนท์อินเตอเฟียรอนแกมมาโดยตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ จากโครงการนี้ทำให้ได้เทคโนโลยีการทำบริสุทธิ์โปรตีนแบบ On column refolding purification ที่มีประสิทธิภาพดีและมีค่าใช้จ่ายน้อยเมื่อเทียบกับวิธีการอื่นๆ เหมาะที่จะใช้ในการผลิตในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการพาณิชย์ต่อไป

#ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์

#สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม #MHESI #PERDO
#CEMB #CoE

 1,357 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *