สป.อว.จับมือ สวทช. และสมาคมเครื่องจักรกลไทย วิจัยพัฒนาเครื่องชั่งและบรรจุอัตโนมัติความเร็วสูง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (ศทพ.) Center of Excellence on Medical Biotechnology (CEMB)
เปลี่ยนดินแห้งแล้งให้ชุ่มชื้นด้วยไฮโดรเจล

สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (สป.อว.) ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงาน พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (หรือ MTEC สวทช.) ให้การสนับสนุนเงินทุนและการบริหาร จัดการ “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” กับ สมาคมเครื่องจักรกลไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนา วิจัย และสร้างนวัตกรรมในการผลิตเครื่องจักรไว้ใช้ ภายในประเทศที่เป็นผลงานฝีมือคนไทย เพื่อทดแทนการลดการนำเข้าจากต่างประเทศ วันที่ 17 มิถุนายน 2565 นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการบริหารจัดการโครงการพัฒนา สร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า วิศวกรอาวุโส สำนักงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ผู้แทนกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กปว. สป.อว. นายประสาร บุนฑารักษ์ เลขาธิการสมาคม เครื่องจักรกลไทย ร่วมกันแถลงข่าว “โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรม เพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เครื่องชั่งและบรรจุอัตโนมัติความเร็วสูง”

นายธนาภรณ์ โกราษฎร์ หัวหน้าโครงการ ผู้แทนหน่วยบริหารจัดการโครงการ กล่าวถึงที่มาของ โครงการนี้ว่า ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ MTEC สวทช เรามีพัฒนากิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการทำวิจัยและพัฒนา การส่งเสริมและถ่ายทอด เทคโนโลยีที่ช่วยต่อยอดให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ซึ่งเป็นหนึ่งในทีม วิจัยที่มีบุคลากรพร้อมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เรามีความร่วมมือกับกองส่งเสริมและประสานประโยชน์เพื่อ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ใน โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ซึ่งมีกรอบการ ทำงานที่โดดเด่นเรื่องหนึ่งคือการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยงานประเทศองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร หรือ สถานปรับการศึกษา เพื่อการพัฒนาสร้างเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกิดประโยชน์แก่ประเทศ โดย จะต้องนำเสนอแง่มุมด้านความใหม่ อาจจะไม่จำเป็นต้องไม่ซ้ำใคร แต่สร้างโอกาสการขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ได้ ด้วยโอกาสทางทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเหมาะสม ด้วยทุนงบประมาณไม่เกินกึ่งหนึ่งจากภาครัฐ และมี ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมอีกไม่ต่ำกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งสมาคมเครื่องจักรกลไทยเป็นพันธมิตรที่ทำงานร่วมกับ 2 กระทรวงมาตั้งแต่กระทรวงวิทยาศาสตร์ จนเกิดเป็นกระทรวง อว ในฐานะหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับ ดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการร่วมกลุ่มกันของสมาชิกด้านการสร้างเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่มีความหลากหลาย ทั้งการผลิตเครื่องจักรเฉพาะด้านและการรับจ้างผลิตตามสั่งหรือ system integrators ก็ ตาม สมาคมจัดเป็นหน่วยงานพันธมิตรที่สำคัญของโครงการในการร่วมพัฒนาผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจาก เดิมที่โครงการมีจุดเริ่มต้นจากการสนับสนุนให้พัฒนาผลงานด้วยวิศวกรรมย้อนรอย จนวันนี้ที่เน้นการพัฒนา ผลงานด้วยการพัฒนาและต่อยอดเป็นวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า และมีโอกาสพัฒนาต่อไปเป็น รูปแบบที่ใหม่ขึ้นในยุคที่อุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัว หลังจาก industry 4.0 ยุคของ IoT ยุคแห่งการ disrupt technology และยุคแห่ง digital twin ที่เริ่มเข้ามามากขึ้น การพัฒนาจะไม่ใช่เพียงการลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย หาตลาดใหม่ เลือกว่าจะอยู่ในตลาด mass หรือ ตลาด niche แต่ต้องในองค์ประกอบของธุรกิจ ที่พร้อมลื่นไหลไปในยุคที่สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วย กระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เราพยายามสนับสนุนให้เกิดโอกาส และสนับสนุนให้ภาคส่วน ที่สอดคล้องตามเงื่อนไขของโอกาสได้มีบทบาทในการสร้างประโยชน์ร่วมกับเราให้ได้มากที่สุดและอยากให้ ติดตามผลงานของโครงการต่อไปครับ

นายจิรวัฒน์ วงษ์สมาน ผู้แทนกปว.สป. กล่าวว่า กิจกรรมในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์ คุณค่า คือการพัฒนาผลงานที่ต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรม ย้อนรอย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นโดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สป.อว. พร้อมกับชื่อสำนักที่เปลี่ยนเป็น กปว.สป. พร้อมทั้งกรอบการทำงานด้านพัฒนาผลงานที่จากเดิมประเทศไทยยอมรับว่าการพัฒนาผลงานทาง วิศวกรรมด้วยนวัตกรรมฝีมือคนไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การ shortcut วิธีการด้วยการทำ copy and development หรือการทำ reverse engineering จึงเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในช่วงแรก แต่ขีดความสามารถ ของผู้ประกอบการไทยนั้นมีการปรับตัวและนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาอยู่ตลอดนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคแห่งข้อมูล ข่าวสาร การผลักดันนวัตกรรมใหม่ ๆ ถูกนำเสนอออกมาอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว ประเทศที่มีความโดดเด่นในด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี ชาติใน ยุโรป และจนมาสู่ยุคที่จีนคือประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกเช่นกันในบทบาทการสร้างนวัตกรรม เหล่านี้จึงเป็น สิ่งเร้าที่ทำให้ประเทศกำลังพัฒนาและต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติเป็นหลักอย่างชาติในอาเซียน ต้อง ปรับตัว และในฐานะที่กระทรวง อว. เราคือหน่วยงานภาครัฐ การสนับสนุนและส่งเสริม ทั้งในเชิงอุดหนุน งบประมาณ การสร้างพื้นที่เพื่อการนำเสนอ การผลักดันด้วยกลไกต่าง ๆ กิจกรรมที่เป็นการผลักดัน เช่นการ จัดประกวดรางวัลเครื่องจักรกลยอดเยี่ยมร่วมกับสมาคมเครื่องจักรไทย การจัดกิจกรรมการสนับสนุนด้วยทุน 3 วิจัย การมีกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ การประกวดผลงานด้านสิ่งประดิษฐ์ และการนำหน่วยงานระดับ มหาวิทยาลัยมาร่วมในกิจกรรมการพัฒนาแผนงานที่หวือหวาอย่าง hackaton เป็นต้น ในขณะที่การประกวด tedtalk หรือการ pitching ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย สร้าง influencer หน้าใหม่แบบข้ามคืนก็เป็นแนวทางที่ น่าสนใจเช่นกัน จึงอยากให้ติดตามการทำงานของ กปว.สป. ต่อไปครับ แต่ในกิจกรรมวันนี้ ก่อนอื่นต้องขอแสดงความยินดี และแสดง ความขอบคุณต่อผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ MTEC สวทช. ที่มี บทบาทการบริหารจัดการโครงการ การร่วมดำเนินงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่การพิจารณาคัดเลือกผลงานที่ดูแล้ว มีคุณค่ามานำเสนอสู่ภาคการผลิต สร้างผลกระทบที่ดีแก่ประเทศ ขอบคุณสมาคมเครื่องจักรกลไทยที่รับ งบประมาณสนับสนุนไปสร้างประโยชน์และพัฒนาเป็นผลงานที่เกิดขึ้นในวันนี้ ร่วมกับภาคเอกชนที่เป็น ผู้ประกอบการไทย แต่มีแนบคิดที่น่าชื่นชมในการประยุกต์เอาวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นความตรงต่อเวลา ความถูกต้องและแน่นอนในทุกขั้นตอนการทำงานตามวิถีทางของประเทศญี่ปุ่นมาใช้อย่าง บริษัท นางาซากิ คิคิ (ประเทศไทย) จำกัด และผู้มีส่วนร่วมในขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาจไม่ได้กล่าวถึงในวันนี้ จึงขอแสดงความชื่นชน และ ขอบคุณอีกครั้งมา ณ โอกาส นี้ครับ

นายประสาร บุนฑารักษ์ เลขาธิการสมาคมเครื่องจักรกลไทย กล่าวว่า สมาคมเครื่องจักรกลไทย เกิด จากการรวมตัวของผู้ประกอบการไทย เพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้ผลิตเครื่องจักรโดยฝีมือคนไทย โดยทางสมาคมฯ เป็นหน่วยงานประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน มีบทบาทร่วมกันที่จะส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกิดการ พัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการผลิตใช้ภายในประเทศและการส่งออก ลดและทดแทนการนำเข้าเครื่องจักร จากต่างประเทศ และสำหรับโครงการฯ นี้เป็นส่วนหนึ่งในความร่วมมือกันระหว่างรัฐ และเอกชน พัฒนาสร้าง เครื่องจักรต้นแบบ ที่ตอบโจทย์ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมไทย เกิดผลงานที่ชื่อว่า “เครื่องชั่งและ บรรจุอัตโนมัติความเร็วสูง โดย บริษัท นางาซากิ คิคิ (ประเทศไทย) จำกัด” ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมฯ และในการงานแถลงวันนี้สมาคมฯต้องขอขอบคุณทาง กปว.สป.อว. และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ MTEC สวทช ที่สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาเครื่องจักรในครั้งนี้รวมถึงขอ แสดงความยินดีกับความสำเร็จในการพัฒนาสร้างเครื่องชั่งและบรรจุอัตโนมัติความเร็วสูง โดย บริษัท นางาซา กิ คิคิ (ประเทศไทย) จำกัด ทุกท่านสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและความร่วมมือระหว่างสมาคมฯกับ หน่วยงานต่างๆ และโครงการอื่นๆได้ทาง เว็ปไซต์ https://thai-machinery.or.th 

 1,907 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *