ได้ดำเนินโครงการเพื่อผลิตบุคลากรวิจัยขั้นสูงและสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ด้วยการสร้างระบบนิเวศด้านการวิจัยและนวัตกรรมผ่านกลไกการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคีสมาชิกจากสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วประเทศ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมีมีทิศทางการวิจัยสามด้านคือเทคโนโลยีทางการวิเคราะห์เพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ (Translational Analytical Technology) นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพเพื่อการพัฒนานวัตกรรมที่ยั่งยืน (Sustainability-Driven Creative Bioactive Natural Products) และวัสดุสมาร์ทสำหรับนวัตกรรมพลิกผัน (Smart Materials for Disruptive Innovations) ที่เป็นไปตามกรอบยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 และมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสิ่งแวดล้อม อาหาร พลังงาน และอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่า
ผลงานวิจัยจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี นอกจากจะมีผลงานที่มีคุณภาพและได้รับการยอมรับในระดับสากลแล้ว ยังมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นส่วนสำคัญในการแก้ปัญหาในระดับประเทศ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ทางศูนย์วิจัยได้คิดค้นชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิด – 19 โดยร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท เซโนสติกส์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ องค์การเภสัชกรรมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมควบคุมโรค และองค์การอาหารและยา รวมถึงชุดทดสอบเครื่องสำอางฟอกผิวขาว
นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังมีผลงานสำคัญที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ ที่ประสบความสำเร็จและมีความโดดเด่น ที่ทำให้เกิดการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในรูปแบบนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ได้ อีกทั้งยังก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างนักวิจัยของศูนย์ฯ ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม
#ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมทางเคมี
#สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#MHESI #PERDO #PERCHCIC #CoE
1,582 total views, 1 views today