🔸กระทรวงวิทย์ฯ ลงพื้นที่สงขลา จัดประชุมทบทวนแผน วทน. ปี 62 เพื่อเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีกลุ่มภาคใต้ นำเสนอโครงการและบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย สู่เป้าหมายทั่วประเทศ🔸

⚙️ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
🔺งาน Asia Warehousing Show 2019🔺

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช รีสอร์ท จังหวัดสงขลา /กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผนปฏิบัติการ วทน. สู่ภูมิภาค (พ.ศ.2561 – 2564)” ประจำปี พ.ศ.2562 เพื่อทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค รวมถึงทบทวนแผนงานและโครงการในระยะเวลา 4 ปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นที่ภาคใต้ จังหวัดสงขลา เพื่อให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีกลุ่มภาคใต้ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณต่อไป และสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมมอบแนวนโยบายการบูรณาการและขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่ภาคใต้ โดยนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากถึง 100 คน

ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบแนวทางนโยบายการบูรณาการให้แก่เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการกลุ่มภาคใต้ ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน กลุ่มวิสาหกิจ จนไปถึงระดับผู้ประกอบการ SME เพื่อให้การนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง เติบโต อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่นยืน ทั้งในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0

นอกจากกลไกเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีในแต่ละจังหวัด ปัจจุบันกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดตั้งศูนย์ประสานงานของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ประจำภูมิภาค เพื่อร่วมทำงานกับทุกท่าน เพื่อพัฒนาแผนงาน/โครงการผลักดันเข้าสู่แผนพัฒนาทั้งระดับ จังหวัด กลุ่มจังหวัด และแผนพัฒนาภาค ดังนั้น ทั้ง 2 กลไก จึงเป็นกลไกที่สำคัญในการนำ วทน. ลงสู่พื้นที่ พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงงานของส่วนกลางและพื้นที่ ให้พร้อมรับกับรูปแบบการบริหารราชการของประเทศที่ปรับไปสู่การดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน ซึ่งถือว่าเป็นจุดสำคัญในการผลักดันไปสู่ การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จะร่วมสนับสนุนและผลักดันในแนวทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ เพื่อสร้างความก้าวหน้าของสังคมไทย

สำหรับการประชุมเพื่อทบทวนแผนงานในวันนี้ อยากให้มองถึงภาพรวม การปรับปรุง แก้ไข จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องใดบ้าง การแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์ที่มากมายจนเกิดการแข่งขันกันเอง สามารถรวมกลุ่มกันให้เข้มแข็งและระดมความเห็นให้ไปในทิศทางเดียวกัน ปรับทิศทางเพื่อให้ตอบโจทย์ปัญหาของประเทศ ทำให้เกิดความสำคัญ คิดกลไลในการทำงานร่วมกัน และขยายในวงกว้าง สู่พื้นที่ชุมชน รวมถึงสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างภูมิภาคได้ด้วย”

นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้ ว่า “สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานตามภารกิจด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน โดยการนำองค์ความรู้ด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เหมาะสม ไปเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านกลไกเครือข่ายความร่วมมือที่เรียกว่า “คลินิกเทคโนโลยี” ซึ่งในภาคใต้ มีเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี จำนวน 20 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากกว่า 14 จังหวัด

 

สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค รวมถึงทบทวนแผนงานและโครงการในระยะ 4 ปี ตามห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายได้จัดทำข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ถึง 2564 ตามกรอบห่วงโซ่คุณค่าหลัก ที่กำหนด พร้อมทั้งสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายต่อไป”

“ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ปรับกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนงานด้วย วทน. สู่การพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 โดยได้ร่วมกับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีภาคใต้ จัดทำห่วงโซ่คุณค่าด้าน วทน. เพื่อเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรมและใช้เป็นกรอบในการสนับสนุนงบประมาณ มีทั้งหมด 7 VC ได้แก่ 1. การบริหารจัดการแพะครบวงจร ด้วย วทน. เพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ /2. การใช้ วทน. เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยวและบริการพื้นที่ภาคใต้ /3. การพัฒนาผลไม้แบบครบวงจรด้วย วทน. ในพื้นที่ภาคใต้ /4. การใช้ วทน. เพิ่มศักยภาพด้านสมุนไพร พื้นที่ภาคใต้ /5. การเพิ่มมูลค่าข้าว ด้วย วทน.ในพื้นที่ภาคใต้ /6. การใช้ วทน. เพื่อเพิ่มมูลค่าเกษตรอัตลักษณ์ใต้ชายแดน /7. นวัตกรรมการผลิตเกษตรปลอดภัยครบวงจร : ภาคใต้

และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นี้ มีข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าข้างต้น และได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 26 โครงการ งบประมาณรวมมากกว่า 7.1 ล้านบาท และ โครงการภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ระดับภาคโครงการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (โครงการสินค้าอัตลักษณ์) งบประมาณ 6.9 ล้านบาท”

 

โดยการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. ในพื้นที่ปัจจุปันดำเนินงานภายใต้ 4 โครงการ ได้แก่

1. โครงการส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม /เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน/ โดยมีเป้าหมายคือ /การนำองค์ความรู้ด้าน วทน. /ไปพัฒนาชุมชนและผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการ บริการให้คำปรึกษา บ่มเพาะธุรกิจ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยในแต่ละปีงบประมาณมีโครงการที่ดำเนินการไม่น้อยกว่า 100 โครงการ มีผู้รับบริการไม่ต่ำกว่า 12,000 คน มีเทคโนโลยีที่ถ่ายทอดสู่ชุมชนไม่น้อยกว่า 100 เรื่อง

2. โครงการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นการนำ วทน. ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์โอทอป OTOP 5 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย และของใช้ของตกแต่งของที่ระลึก โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการต้องมีศักยภาพและความพร้อม โดยผลการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2561 มีผู้ประกอบการที่ได้รับการพิจารณาจำนวน 183 ราย 215 ผลิตภัณฑ์

3. โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน เป็นโครงการสนับสนุนนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาที่ต้องการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการเกษตร หัตถกรรม ในระดับวิสาหกิจชุมชน โดยสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวจะต้องสามารถไปใช้งานได้จริง และต้องผลักดันให้ผู้ใช้งานหรือผู้ประกอบการนำผลงานไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ภาคการผลิตต่อไป ในปัจจุบันได้มีเครื่องจักรต้นแบบเพื่อการผลิตระดับชุมชนตั้งแต่ปี 2547 – 2561 รวม 170 เครื่อง

4. โครงการศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำภูมิภาคใต้ หรือ ศวภ. 3 ซึ่งรับผิดชอบ 14 จังหวัด มีภารกิจในการจัดทำแผนงาน /โครงการด้าน วทน. เพื่อการพัฒนาจังหวัด

 1,200 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *