เจ้าหน้าที่ อว. ร่วมกับ สถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานเครื่องบดเปลือกมังคุดเพื่อการผลิตสารแซนโทน (ปรับปรุงสำหรับบดวัสดุทางทะเล)

สป.อว. พร้อม TGI ร่วมลงพื้นที่ตรวจติดตามการพัฒนาเครื่องคัดแยกวัสดุเจือปนและอบลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยลมร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวล
กปว. พร้อม TGI ร่วมลงพื้นที่ติดตามเครื่องล้างขมิ้นชันเพื่อการแปรรูปสำหรับชุมชน

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของเครื่องบดเปลือกมังคุดเพื่อการผลิตสารแซนโทน (ปรับปรุงสำหรับบดวัสดุทางทะเล) ภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการพัฒนาระดับชุมชน ที่มีการขยายผลจากเครื่องต้นแบบ พัฒนาโดย นายชาญชัย แฮวอู ครูชำนาญการพิเศษ จากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ติดตั้งและทดสอบการใช้งาน ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านเปลือกหอยแหลมทราย เลขที่ 23 หมู่ที่ 5 ตำบลพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

เนื่องจากในเขตชุมชนหรือเขตอำเภอต่างๆ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการขายหอยเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัญหาจากเปลือกหอยเป็นปัญหาที่ทำลายสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ดังนั้น หากมีแนวทางการจัดการขยะเปลือกหอยที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ นอกจากจะเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ชุมชนยังได้ผลประโยชน์จากการนำขยะเปลือกหอยที่เหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่าในรูปแบบต่างๆ โดยชาวบ้านจะรับซื้อเปลือกหอยในราคา 2 บาท/กิโลกรัม เมื่อนำมาผลิตเป็นปุ๋ยเสริมแคลเซียมในรูปแบบผงละเอียดจะสามารถขายได้ในราคา 20 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวบ้านอีกช่องทางหนึ่งหลักการทำงานของเครื่องจักรที่มีการพัฒนาปรับปรุง- สามารถแยกชนิดวัตถุดิบได้ 2 ช่องทาง เพื่อการประหยัดเวลาและกำลังของเครื่อง- ใช้สกรูลำเลียงเพื่อป้อนวัตถุดิบวัสดุทางทะเล เช่น เปลือกหอยนางรม เปลือกหอยแครงเปลือกหอยขาว เปลือกหอยตลับ เปลือกหอยแมลงภู่ ฯลฯ ที่ผ่านการตากแห้ง- บดวัตถุดิบสำหรับแปรรูปจากวัสดุทางทะเลนำมาแปรรูปผลิตปุ๋ยเสริมแคลเซียม เพื่อให้มีความละเอียดแบบผง โดยใช้หัวบดความละเอียดสูง ที่สามารถปรับความละเอียดได้ 50 – 100 mesh- พัฒนาปรังปรุงให้มี ระบบดูดฝุ่นมีการดูดฝุ่น 2 ชั้น คือ 1) Fre Filter (ชั้นที่1) และ2) Medium Filter (ชั้นที่2)- ทำงานแบบอัตโนมัติต่อเนื่อง ตั้งแต่ใส่วัตถุดิบทางทะเล ในช่องบดลงสู่เครื่องจนเป็นผงทั้งนี้ ในการตรวจติดตามการดำเนินงานของเครื่องบดเปลือกมังคุดเพื่อการผลิตสารแซนโทน (ปรับปรุงสำหรับบดวัสดุทางทะเล) ได้รับความพึงพอใจจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เป็นอย่างดี

 920 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *