กปว. ร่วมกับ เอ็มเทค สวทช. และสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ทดสอบการใช้งานเรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน

สป.อว พร้อมนักวิจัย MTEC และ ม.อ. ลงพื้นที่หารือโครงการพัฒนาเรือนำเที่ยวไฟฟ้าแบบไฮบริด ณ ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่
สป.อว. พร้อม สวทช. มข. และ บ.อุดรกระจกรถยนต์ ร่วมแถลงข่าวความสำเร็จโครงการพัฒนาสร้างระบบบดและคัดแยกกระจกหน้ารถยนต์

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2566 คุณดุสิต ตั้งพิสิฐโยธิน วิศวกรอาวุโส ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สวทช. ในฐานะผู้แทนโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นำผลงานเรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน ส่งมอบให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อรับไปทดสอบใช้งานระยะยาวเพื่อร่วมประเมินสมรรถนะ พร้อมทั้งมีส่วนสนับสนุนงานวิจัยของหน่วยงาน ด้วยการรับผลงานไปใช้งานในพื้นที่ปฏิบัติงานจริง โดยตัวแทนกรุงเทพมหานคร นายนพรัตน์ ชวนเกษม นายช่างโยธาอาวุโส และคุณบุญโชติ พุ่มพระตุน หัวหน้างานกองระบบคลอง สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร และทีมงานรับมอบผลงานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ โดยนำเข้าใช้งาน ณ เขตคลองสามวา โดยจะเริ่มต้นการใช้งานเพื่อการตักและกวาดเก็บผักตบชวา สำหรับการจัดการทางน้ำและทำความสะอาดคูคลองในพื้นที่ตั้งแต่บริวณประตูระบายน้ำ คลอง 4 ตะวันตก เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน ดังกล่าว มีรายละเอียดคุณลักษณะและสมรรถนะโดยสังเขป ได้แก่ เครื่องยนต์ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 14 แรงม้า ความเร็วรอบ 1,800 รอบต่อนาที สามารถยกน้ำหนักด้วยแขนกลที่ส่วนหน้าได้มากถึง 152 กิโลกรัม สามารถยกได้สูง 2.5 เมตร เมื่อวัดจากระดับกราบเรือ สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน เป็นผลงานพัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาและวิจัย ภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผลงานเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความต้องการใช้งานในประเทศ แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ หรือมีผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะหรือเพื่อส่วนรวมที่สร้างคุณค่าและส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งแนวคิดที่ตอบโจทย์ BCG อีกด้วย

 18,297 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *