อว. จัดสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการเตรียมพร้อมกับ TRIUP Act” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจพร้อมนำไปใช้ประโยชน์

ขอเชิญร่วมฟังสัมมนาวิชาการ “การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการเตรียมความพร้อมกับ TRIUP Act”💡 โดยผู้เชี่ยวชาญด้าน IP
ตามหาผลงานนวัตกรรม จากนวัตกรรุ่นเยาว์ทั่วประเทศ โครงการ Thailand Innovation Awards 2023

วันที่ 13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแมนดาริน ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการเตรียมพร้อมกับ TRIUP Act” สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (CoE) กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 ส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญา ไปใช้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนาเพื่อต่อยอดความรู้ และเทคโนโลยี นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. กล่าวว่า สป.อว. ในฐานะที่กำกับดูแลหน่วยงานวิจัยระดับชาติหลายแห่ง ซึ่งแต่ละปีมีนักวิจัยในสังกัด สามารถผลิตผลงานการวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมคุณภาพสูงได้เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศูนย์ความเป็นเลิศ 11 ศูนย์ ที่เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2542 ในรูปแบบเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการข้ามมหาวิทยาลัย (Inter-university Research Consortium) ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิ์อันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น และสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ของนักวิจัย ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการทำงานวิจัยของนักวิจัยให้มีคุณภาพ และสามารถต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ได้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเมื่อไม่นานมานี้ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564 หรือ ที่เรียกว่า TRIUP Act เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริม สร้างแรงจูงใจให้แก่ นักวิจัย สถาบันวิจัย และมหาวิทยาลัย ให้ทำงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดระบบนวัตกรรมที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีต่อระบบนิเวศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของประเทศ ซึ่ง สป.อว. มีนโยบายสนับสนุนอย่างเต็มที่กับ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ที่จะสร้างคุณูประการให้กับระบบ ววน. ของประเทศต่อไป เป็นไปตามปณิธานหลักของของหน่วยงานที่กำหนดเอาไว้ว่า จะสานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย เพื่อพลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจ สร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคตประเทศไทยของเราในวันนี้ ยังคงติดหล่มกับดักอยู่หลายประการ ทั้งกับดักรายได้ปานกลาง ซึ่งเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ กับดักความเหลื่อมล้ำเป็นมิติด้านสังคม และกับดักความสมดุลเป็นมิติด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ จำเป็นต้องอาศัยระบบ ววน. ที่เข้มแข็ง เป็นกลไก เป็นแรงผลักที่สำคัญเพื่อช่วยให้ประเทศของเราก้าวผ่านกับดักต่าง ๆ เหล่านั้นได้ และที่สำคัญที่สุด คงต้องพึ่งพานักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหารหน่วยงานวิจัยในระดับแนวหน้าของประเทศ ช่วยเป็นกองกำลังขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ให้สามารถเติบโตได้อย่างสมดุลและยั่งยืนในทุกมิติต่อไปด้าน นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวรายงาน กปว. มีภารกิจหลักในการส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จาก วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในทุกมิติ และศูนย์ความเป็นเลิศก็เป็นหนึ่งภารกิจภายใต้องคาพยพของ กปว.ที่ทำหน้าที่ในมิติด้านการพัฒนาระบบนิเวศเพื่อการใช้ประโยชน์ จาก ววน. อย่างครบวงจร ซึ่งหากย้อนไปในปี 2542 ทบวงมหาวิทยาลัย หรือสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในปัจจุบัน ได้จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศขึ้นเป็นครั้งแรก ในลักษณะเป็นภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นวัฒนธรรมใหม่ของวงการวิชาการ เกิดเป็นชุมชนนักวิชาการหรือนักวิจัยขนาดใหญ่ สำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา มาร่วมกันพัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ความต้องการยุทธศาสตร์ของประเทศในรูปของ New Academic Order ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กว่า 22 ปี ศูนย์ความเป็นเลิศสามารถผลิตผลงานทั้งในเชิงผลผลิต ผลลัพธ์และผลกระทบได้อย่างมีคุณภาพ และในปริมาณที่เป็นมวลวิกฤตเป็นที่ประจักษ์ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ เทคโนโลยีต้นแบบ นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์ ที่สามารถนำไปจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาได้ กว่า 390 ชิ้นงานการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดขึ้นจากการทุ่มเททำงานของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ กปว. และทุกหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. ที่ต้องให้ความสำคัญ สร้างความเข้าใจ และความตระหนักรู้ ถึงพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้ประกาศใช้เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมางานสัมมนาวิชาการในวันนี้ ทาง กปว. ได้รับเกียรติจากวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ และรับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และรายละเอียดสาระภาย ใต้ พรบ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมดังกล่าว ตลอดจนกระบวนการและมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ มาเป็นผู้ให้ความรู้ ความเข้าใจกับผู้ร่วมงานสัมมนา ผ่านการอภิปรายทั่วไป ใน 2 หัวข้อ คือ “การแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา: สร้างโอกาสสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” และ หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้บริบทของ TRIUP Act”#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#MHESI

 1,354 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *