วันที่ 11 ธันวาคม 2565 กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับวิศวกรอาวุโส สถาบันไทย-เยอรมัน ตรวจติดตามการพัฒนาเครื่องสกัดสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ

อว. ร่วมพิธีเปิดงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 10 Northern Agri CMU Expo 2022 พร้อมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และกิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ภาคเหนือ) ประจำปี พ.ศ. 2566
วันที่ 11 ธันวาคม 2565 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ลงพื้นที่ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ติดตามการพัฒนาเครื่องย้อมสีผ้าหม้อฮ้อมอัตโนมัติ

วันที่ 11 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับวิศวกรอาวุโส สถาบันไทย-เยอรมัน ตรวจติดตามการพัฒนาเครื่องสกัดสมุนไพรด้วยคลื่นไมโครเวฟ พัฒนาโดย นายชูเกียรติ ปันตา วิทยาลัยเทคโนโลยีชรินรัตน์ลำพูน งบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน ติดตั้งใช้งาน ณ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปสมุนไพร บ้านหลุก อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยการผลิตแบบเดิมใช้การต้มสกัดซึ่งใช้เวลานาน ควบคุมอุณหภูมิไม่ได้ ได้ปริมาณสารสำคัญน้อยและสารสำคัญบางชนิดสูญเสียไป

เครื่องสกัดสารสมุนไพรฯ ที่พัฒนาขึ้น ใช้การสกัดด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave Extraction) ซึ่งจะถูกส่งไปยังเซลล์พืชสมุนไพร ทำปฏิกิริยาในระดับโมเลกุล เกิดความร้อนที่ทำให้สารสำคัญถูกสกัดออกมา มีข้อดีคือ ช่วยลดเวลาในการสกัด ลดปริมาณตัวทำละลาย ได้สารสำคัญปริมาณมาก ควบคุมอุณหภูมิได้ สามารถกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสมกับชนิดของสมุนไพร ทำให้สารสำคัญไม่เสียไป ระบบจะทำงานแบบอัตโนมัติ มีการทำงาน 11 วินาทีและตัดการทำงาน 4 วินาที สลับกันกันเพื่อไม่ให้ระบบทำงานหนักเกินไป เครื่องทำจากวัสดุสแตนเลสร่วมกับเหล็กชุบสีกันสนิม ตัวถังสกัดรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส มีแท่นวางภาชนะที่ก้นถังที่สามารถหมุนได้ มีตัววัดอุณหภูมิอยู่ด้านบน มีระบบระบายอากาศ การทำงานเสถียร เสียงเงียบ โดยจากใช้งานของกลุ่ม คุณไตรทศ ใจศรีธิ ประธานกลุ่ม กล่าวว่า ได้ทดลองใช้สกัดขมิ้น ไพร ว่านชักมดลูก มีความพึงพอใจมาก เนื่องจากสามารถสกัดสารได้ปริมาณมากกว่าเดิม แต่ใช้เวลาลดลงหลายเท่า โดยต่อจากนี้กลุ่มจะทดลองหาเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสกัดสมุนไพรแต่ละชนิดเพิ่มเติม และมีแผนจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยใช้กับเมล็ดลำใย ที่สารสกัดมีมูลค่าสูง เพื่อเพิ่มรายได้ให้ทางกลุ่มต่อไป

 731 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *