2 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565 จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

1 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า ของโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565 จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
3 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่เพื่อส่งมอบเครื่องจักร โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีด ความสามารถของภาคผลิตและบริการ ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

โครงการพัฒนา : เครื่องซีลปิดขอบฝาบรรจุภัณฑ์กล่องพลาสติกกลมแบบจานหมุนปรับหลายขนาดกึ่งอัตโนมัติ
ผู้พัฒนาโดย : นายวิรุณ โมนะตระกูล และคณะ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565
ที่สร้างประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้นใช้ในกระบวนการติดเทปซีลปิดฝากล่องบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกล่องพลาสติกกลม ซึ่งมีขนาดและความสูงแตกต่างกันได้ เป็นการทดแทนแรงงานคน ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการทำงานและลดการสัมผัสต่อบรรจุภัณฑ์ที่บรรจุอาหารได้

——————————————————————————————————————————————————

โครงการพัฒนา : การพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลากะพงด้วยระบบน้ำแรงดันสูง
ผู้พัฒนาโดย รศ.ดร.ศิริชัย ต่อสกุล และคณะทำงาน จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565
ที่สร้างประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และถูกส่งมอบให้กับวิสาหกิจชุมชนซีไรซมาเก็ตติ้ง อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้นใช้ในการขอดเกล็ดปลากะพงโดยใช้น้ำแรงดันสูงฉีดให้เกล็ดหลุดจากตัวปลา โดยเนื้อปลาที่ถูกขอดเกล็ดไม่ได้รับความเสียหายจากแรงดันน้ำ เป็นการช่วยทดแทนแรงงานคนให้สามารถขอดเกล็ดปลาได้อย่างรวดเร็วและลดโอกาสบาดเจ็บจากการขอดเกล็ดปลาโดยใช้มือ

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน #TGI

 584 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *