1 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า ของโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565 จำนวน 3 โครงการ ดังนี้

“ดนตรีในสวน : H.M.Song อว.บรรเลงเพลงของพ่อ”
2 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565 จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

โครงการพัฒนา : การพัฒนาเครื่องจำลองลักษณะทางกายภาพสามมิติต้นแบบด้วยเลเซอร์ความละเอียดสูง
ผู้พัฒนา : นายธวัชชัย อาทรกิจ บริษัท บางกอก บลู โอเชี่ยน แขวงบางขุนเทียน กรุงเทพฯ

ภายใต้โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ ประจำปี 2565 ที่สร้างประกอบชิ้นส่วนเครื่องเรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน ณ บริษัท เอ็นซี เทค จำกัด แขวงภาษีเจริญ กรุงเทพฯ โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้น ใช้ในการสแกนเพื่อจำลองลักษณะทางกายภาพ 3 มิติของวัตถุหรือบุคคล ซึ่งจะสามารถนำภาพจำลองลักษณะทางกายภาพดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ

——————————————————————————————————————————————————

โครงการพัฒนา : การพัฒนาหุ่นยนต์หยิบวางแบบอัตโนมัติ
ผู้พัฒนา : นายเอกรัฐ ชัยวีรสกุล บริษัท ไทเกอร์ รัน จำกัด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ภายใต้โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ ประจำปี 2565 ที่สร้าง ประกอบชิ้นส่วน และผ่านการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานเรียบร้อยแล้วโดยระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้ในการจัดเรียง และบรรจุผลิตภัณฑ์จากสายพานการผลิตจัดเก็บลงในกล่องซึ่งระบบของหุ่นยนต์ประกอบด้วย ส่วนสำหรับวัดองศาการวางของผลิตภัณฑ์บนสายพานลำเลียง จากนั้นผลิตภัณฑ์จะถูกแขนของหุ่นยนต์ (มีแกนของหุ่นยนต์จำนวน 4 แกน) หยิบออกจากสายพาน และจัดเรียงลงในกล่องบรรจุ ซึ่งสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีน้ำหนักไม่มากและต้องการความรวดเร็วในกระบวนการบรรจุ เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ ช่วยทดแทนแรงงานคน รวมถึงทดแทนการใช้เครื่องจักรจากต่างประเทศ

—————————————————————————————————————————————————–

โครงการพัฒนา : เครื่องล้างและคัดขนาดละมุดระบบกึ่งอัตโนมัติ
ผู้พัฒนาโดย : ดร.สิงห์รัญ ชารี และคณะทำงานจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปี 2565 ที่สร้างประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักรเรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพ และปรับปรุงแก้ไขการทำงาน ณ วิสาหกิจชุมชนละมุด ต.ท่าตอ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา โดยเครื่องที่พัฒนาขึ้นใช้ในการทดแทนแรงงานคน และอำนวยความสะดวกในกระบวนการล้างและคัดแยกขนาดผลละมุด ซึ่งประกอบด้วยส่วนของการล้างและส่วนคัดขนาดละมุด โดยละมุดที่เข้าเครื่องจะถูกล้างน้ำโดยชุดแปรงขัดและหัวสเปรย์ฉีดน้ำ จากนั้นจะถูกลำเลียงไปคัดขนาดโดยลูกกลิ้งที่เป็นตะแกรงเหล็กเส้นยาวทรงกระบอก ซึ่งผลละมุดจะถูกแยกออกเป็น 3 ขนาด ตกลงสู่ภาชนะที่รองรับสำหรับนำไปจำหน่ายหรือแปรรูปเพื่อจำหน่ายต่อไป

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน #TGI

 331 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *