รมว.อว. ประชุมหารือบทบาทของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ การใช้นวัตกรรมฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่

อว. MOU กับ 19 มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรเพิ่มทักษะรองรับงานหลังวิกฤต COVID-19 นำร่อง 8 กลุ่มสาขาอาชีพ ด้วยงบประมาณ 14 ล้านบาท
รมว.อว. แถลงข่าวปฐมนิเทศ “อว.สร้างงาน” เดินหน้าขยายผลระยะที่2 อีกเกือบ 4 หมื่นอัตรา

วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เข้าร่วมประชุมหารือการมอบนโยบายบอร์ด ต่อ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA โครงการ พ.ร.ก. เงินกู้ของ อว. การใช้นวัตกรรม เพื่อการฟื้นฟูและยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ ณ ห้องประชุม 301 อาคารสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)

ดร.สุวิทย์ (รมว.อว) กล่าวว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 นั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน ทำให้ต้องคำนึงถึงทิศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและพร้อมรองรับกับเหตุการณ์ต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรนำการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม (RDI) เข้ามาเป็นส่วนในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัจจุบันกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้ความสำคัญกับการผลักดันเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ BCG และการพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่ ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยร่วมหารือกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา ซึ่งหัวใจในการพัฒนา BCG นั้นคือ enterprise (ประกอบด้วย บริษัทขนาดใหญ่ SME Startup) ที่จะเป็นส่วนในการขับเคลื่อนให้ระบบ BCG เกิดขึ้นได้จริง ในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานที่เข้ามาดูแลเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ในฐานะที่สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (NIA) เป็นหน่วยงานภายใต้ กระทรวง อว. และดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนระบบนวัตกรรมแล้วนั้น ควรมีบทบาทนำในการพัฒนาระบบนวัตกรรมใน enterprise เป็นสำคัญ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมในเชิงพื้นที่ทั่วประเทศ มีหลักสำคัญ ดังนี้

  1. ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมในระดับประเทศ สร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นในทุกระดับและทุกมุมมองของการพัฒนานวัตกรรม ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม องค์กร และพื้นที่ ภายใต้บทบาทในการผลักดันให้เกิดเป็นระบบนวัตกรรมของประเทศ
  2. ทำหน้าที่ในการส่งเสริมและพัฒนา SME และ Startup เนื่องจากเป็นหนึ่งในผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรม ดังนั้นการที่ NIA เข้าไปมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนา ย่อมส่งผลต่อระบบนวัตกรรมของประเทศด้วย โดยส่วนสำคัญที่จะช่วยในการพัฒนาดังกล่าว คือการมีพื้นฐานของข้อมูลและความรู้ด้านนวัตกรรมและการส่งเสริมเศรษฐกิจแบบ BCG
  3. ให้ความสำคัญกับการสร้าง Value Creation การพัฒนานวัตกรรมจะเห็นผลเป็นรูปธรรมก็ต่อเมื่อสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง ดังนั้นการส่งเสริมหรือพัฒนาระบบนวัตกรรมในประเทศ ต้องคำนึงถึงผลกระทบและต้องสัมพันธ์กับความต้องการด้านนวัตกรรมของประเทศอีกด้วย

นอกจากหลักสำคัญทั้ง 3 ข้อแล้วนั้น NIA ควรพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการนวัตกรรมในประเทศมากยิ่งขึ้น สร้างสังคมผู้ประกอบการนวัตกรรมให้มีความเข้มแข็ง ควรพัฒนานวัตกรรมในพื้นที่ให้เกิดขึ้นในทุกภูมิภาคทั่วประเทศและเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพควรดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายภายในกระทรวง เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัย เป็นต้น”

 742 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *