อว. ลงพื้นที่การพัฒนาสร้างห้องอบระบบลมร้อน สำหรับถุงมือผ้าเคลือบน้ำยางธรรมชาติ ณ จ.สุราษฎร์ธานี

สอวช. เผยผลสำรวจผลกระทบที่ภาคเอกชนได้รับจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ปิ๊งไอเดีย ต่อยอดข้อมูลทำ SME TRANSFORMATION – ด้านแนวทาง RESKILL / UPSKILL ผ่านฉลุย พร้อมส่งต่อ สป.อว. เดินเครื่องเต็มสูบ
ป้องกันไว้ ก็ไม่ผิด เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส COVID- 19
      วันที่ 17 มีนาคม 2563 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ลงพื้นที่ร่วมกับทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) ติดตามการดำเนินงานการพัฒนาสร้างห้องอบระบบลมร้อน สำหรับถุงมือผ้าเคลือบน้ำยางธรรมชาติ ณ วิสาหกิจชุมชน ชาวสวนยางบ้านในสวน ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
   “กลุ่มชาวสวนยางบ้านในสวน” เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากน้ำยางพาราสดในท้องถิ่น โดยการนำน้ำยางพาราที่ได้มาแปรรูปเป็น ถุงมือผ้าเคลือบยางพารา เพื่อขายในกลุ่มลูกค้าในภาคการเกษตร และภาคการก่อสร้าง ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ถุงมือผ้าเคลือบยางพาราที่ผลิตออกมาได้ในช่วงแรกสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันต่างๆที่มาให้องค์ความรู้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและพัฒนาสูตรน้ำยางที่ใช้เคลือบถุงมือและบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมี คุณสมบัติ ป้องกันการลื่น การบาดเฉือน ป้องกันการสัมผัสกับสารเคมี ป้องกันการเกิดไฟฟ้าสถิต และกันความร้อน ด้วยความเป็นฉนวนของยางพาราจากการสัมผัสอุปกรณ์หรือชิ้นงานได้ในระดับหนึ่ง
      แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์จึงทำให้เกิดปัญหาในการผลิต เนื่องจากเตาอบแห้งรุ่นเก่าที่ใช้ในการอบน้ำยางพารา ใช้พลังงานจากก๊าซที่มีประสิทธิภาพน้อยและสิ้นเปลืองมีผลต่อต้นทุนในกระบวนการผลิต ความปลอดภัยไม่อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน มีขนาดเล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้น ทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (MTEC สวทช.) เห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ จึงได้พัฒนาสร้าง “ห้องอบระบบลมร้อน สำหรับถุงมือผ้าเคลือบน้ำยางธรรมชาติ” ภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ดำเนินการโดยสํานักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 
           ชุดระบบเครื่องอบแห้งที่ออกแบบพัฒนานี้เป็นชุดระบบที่ใช้ลมร้อนจากชุด เตากําเนิดความร้อน ซึ่งจะใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซ LPG เข้ามาที่ชุดหัวเผา (Burner) แบบอัตโนมัติที่มีพัดลมดูดอากาศมาจุดเปลวไฟในห้องเผาไหม้ ความร้อนที่เกิดขึ้นในห้องเผาไหม้นั้นจะถูกดูดผ่านท่อลมร้อนด้วยพัดลม1 (Blower1) ที่ติดตั้งอยู่ทางด้านบนโครงตู้อบ แล้วปล่อยลมร้อนเข้าไปยังช่องด้านข้างของผนังตู้อบด้านที่ใกล้กับชุดเตาเผา ซึ่งด้านในผนังโครงตู้อบนี้จะมีช่องด้านบนถึงล่าง เพื่อระบายลมร้อนเข้าไปกระทบกับวัสดุอบที่แขวนอยู่บนชั้นภายในตู้อบ และพาความชื้นออกจากวัสดุอบ แล้วลมร้อนที่ผ่านวัสดุอบจะลอยตัวขึ้น และถูกพัดลม2 (Blower 2)  ซึ่งต่อเข้ากับช่องเปิดตรงกลางผนังห้องอบด้านบนดูดแล้วส่งไปตามท่อ ซึ่งท่อลมร้อน จะต่อกับช่องระบายไอน้ำด้านบน  และต่อเข้ากับท่อลมร้อนหลักที่ส่งไปยังผนังด้านข้างตู้อบอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีช่องปล่อยลมร้อนทางด้านข้าง จากด้านบนถึงด้านล่าง เข้าไปกระทบกับวัสดุอีกด้านหนึ่งของตู้อบ เพื่อพาความชื้นลอยออกไปที่ช่องทางดูดของพัดลม2 ที่อยู่ตรงกลางด้านบนของผนังตู้อบ ซึ่งลมร้อนจะหมุนวนพาความชื้นจากวัสดุอบที่อยู่ภายในห้องอบจนวัสดุอบแห้งตามต้องการ
           ห้องอบระบบลมร้อน (ที่พัฒนาขึ้นโดย mtec) สามารถทํางานเฉลี่ย 1.5 ชั่วโมงต่อ 1 รอบ สามารถบรรจุถุงมือได้เฉลี่ย 350 คู่ มีต้นทุนค่าไฟฟ้า 1.5 (ชั่วโมง) X 5 (บาทต่อชั่วโมง) คิดเป็น 7.5 บาท และค่าแก๊ส 45 บาท คิดเป็นต้นทุน 0.1 บาท ต่อถุงมือ 1 คู่ ต่อระยะเวลา 1.5 ชั่วโมง  ซึ่งเมื่อประเมินด้วยจํานวนชั่วโมงการทํางานที่เทียบเท่ากันกับเตาอบรุ่นแรก กําลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น กว่า 460% ในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลงถึง 50%  และในการเปรียบเทียบกับเตาอบที่เป็นการประยุกต์ใช้เตาอบลดความชื้น เมื่อประเมินที่จำนวนชั่วโมง การทํางานเทียบเท่ากัน กําลังการผลิตของเตามีมากกว่า 650% ในขณะที่ต้นทุนการผลิตลดลง ประมาณ 50% ใกล้เคียงกับการเปรียบเทียบกับเตาอบรุ่นแรก

 7,277 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *