กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร่วมกับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การสร้างรายได้เกษตรกรฐานราก” นำร่องสกลนครโมเดล เตรียมขยายผลทั่วประเทศ

9 ธ.ค.62 วันต่อต้านคอร์รัปชันสากล “Zero Tolerance คนไทยไม่ทนต่อการทุจริต”
ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) เปิดการประชุมแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 พร้อมรับยุค DIGITAL TRANSFORMATION

วันที่ 7 ธันวาคม 2562 นายจำลอง พรมสวัสดิ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เข้าร่วมการสัมมนาและศึกษาดูงานเรื่อง “ปัญหาการเข้าถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมของเกษตรกร” และอภิปรายเรื่อง “ความร่วมมือระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับคณะกรรมาธิการ เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ในการสัมมนาเชิงปฏิบัติการหัวข้อเรื่อง “การสร้างรายได้เกษตรกรฐานราก” จัดโดยคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม สภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนโดยการนนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับรับฟังปัญหาและอุปสรรคในเรื่องต่าง ๆ เชิงปฏิบัติการร่วมกับการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพที่ให้คนในชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ในสภาวการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ณ วัดป่าสมณวงศ์ ตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

นายจำลอง พรมสวัสดิ์ กล่าวว่า ในนามของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ได้มอบหมายให้ลงพื้นที่ร่วมกับคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างรายได้เกษตรกรฐานราก” ซึ่งหน่วยงานในสังกัด อว. ได้หารือร่วมกันจะดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG Model ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้ยั่งยืนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเดิมประเทศไทยพึ่งพาต่างประเทศมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการเชิญนักลงทุนมาร่วมลงทุนในประเทศ หรือการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่เมื่อเกิดภาวะการ Disrupt หรือโลกป่วน ทำให้เกิดความไม่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจ จึงต้องหันกลับมาตระหนักถึงคของเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีทรัพยากรการเกษตร มีความหลายกลายชีวภาพ และหลากหลายวัฒนธรรม ดังนั้น รมว.อว. จึงให้ความสำคัญในการผลักดันเรื่องนี้ โดยร่วมมือกับคณะกรรมาธิการฯ ในการสนับสนุนให้เกิดรายได้กับเกษตรกรเพื่อตอบโจทย์รัฐบาล ได้แก่ (1) แก้ปัญหาความยากจน (2) ลดความเหลื่อมล้ำสังคม และ (3) คุณภาพชีวิตของประชาชนต้องดีขึ้น

สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการพัฒนาอาชีพและรายได้ให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนโดยการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรมให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พร้อมกับรับฟังปัญหาและอุปสรรคในเรื่องต่าง ๆ เชิงปฏิบัติการร่วมกับการศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องอันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพที่ให้คนในชุมชนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ในสภาวการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน ประกอบกับสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนท้องถิ่นช่วยเหลือผลักดันสินค้า ราคาและผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นเกิดมูลค่าและมีมูลค่าเพิ่ม Value Added ที่โดดเด่นและสร้างนวัตกรรมที่แตกต่างหลากหลายรูปแบบให้เกิดมิติของสินค้าแบบใหม่ ๆ ออกสู่ท้องตลาดที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้นตามภายใต้เอกลักษณ์ประจำพื้นที่นั้น ๆ นอกจากนั้น ยังสร้างเสริมองค์ความรู้ภายในชุมชนท้องถิ่นระดับฐานรากที่รู้จักใช้ รู้จักรักษาและตระหนักเมื่อนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เพื่อให้เกิดคุ้มค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความเข้าใจการสมดุลของระบบนิเวศทั้งทางพื้นดิน พื้นน้ำ พื้นใต้ทะเลลึก และทางอากาศให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

ในการนี้ คณะกรรมาธิการฯ เห็นว่าจังหวัดสกลนครมีความหลากหลายทางชีวภาพที่สร้างมูลค่าเพิ่มในเรื่องของสินค้าที่ได้มาจากพืชทางการเกษตร เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และพืชชนิดตระกูลถั่ว เช่น คราม รวมถึงพืชเสริมอย่างมะเม่า เห็ด สมุนไพร และเม็ดบัวหลวง เป็นต้น สามารถสร้างรายได้และอาชีพให้กับคนในพื้นที่จนมีชื่อเสียงและใช้ภูมิปัญญาจนสามารถนำพืชมาแปรรูปให้เกิดมูลค่าที่หลากหลายชนิด และยังสร้างแบรนด์ไทยสู่โกอินเตอร์เป็นที่รู้จักในนามว่า คราม (INDIGO) ที่เกิดมูลค่าและสร้างรายได้ส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยคุณสมบัติครามเป็นพืชที่ต้องใช้หลักทางวิทยาศาสตร์และวิจัย และองค์ความรู้จากภูมิปัญญาชาวบ้านจนเกิดเป็นสีครามสวยงามนำไปย้อมเสื้อผ้า กระเป๋า และสินค้าอื่น ๆ ได้อย่างแปลกตาเป็นสีธรรมชาติเป็นมรดกภูมิปัญญาอย่างเช่นผ้าฝ้ายย้อมคราม แต่ในขณะเดียวกันสินค้าชนิดต่าง ๆ ที่ผลิตออกมาในแต่ละชุมชนท้องถิ่น เมื่อนิยมในห้วงเวลาหนึ่งหากไม่มีการพัฒนาหรือต่อยอด ย่อมส่งผลต่อรายได้ที่เคยได้รับหรือเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม อีกทั้งการสร้างมาตรฐานและคุณภาพที่ดีย่อมได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะต้องรับรู้รับทราบ เข้าถึงปัญหา รวมถึงสร้างสินค้าให้มีความทันสมัย ให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืน มีอาชีพที่มั่นคงอย่างมีกลยุทธ์ต่อไป

 3,113 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *