“สุวิทย์” หารือ “ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ”

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ออกประกาศแจ้งเตือน เรื่อง “พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โพดุล” (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม – 1 กันยายน 2562)
อุทยานวิทย์ภาคเหนือผลักดันนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ เพิ่มศักยภาพ ยกระดับธุรกิจไทย

วันที่ (29 สิงหาคม 2562) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมประชุมหารือเรื่อง”ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” โดยมี รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย คณะผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมหว้ากอ 1 สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

ดร.สุวิทย์ฯ กล่าวว่า การปฏิรูปมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยระบบ อววน. เป็นการแสดงศักยภาพในการตอบโจทย์ของประเทศ โดยให้ทุกอย่างโยงกับประเทศและประชาชน และมหาวิทยาลัยกับสถาบันวิจัยก็ปรับบทบาทตามโจทย์ที่เรามี โดยอาศัยงบประมาณมาเกลี่ยให้ตอบโจทย์ประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

การประชุมหารือ”ระบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ” มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้งานวิจัยและนวัตกรรมเกิดผลกระทบสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไม่กระจัดกระจาย 2.เพื่อให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ต้องอาศัย การบริหารงานนวัตกรรมที่ต้องทำงานร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์, ความเข้าใจธุรกิจและการตลาด, ความรู้ด้านเทคโนโลยี, การทำงานกับอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด 3.เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ครอบคลุมทุกสาขายุทธศาสตร์ของประเทศ (National Strategic Agenda) ทั้งในพื้นที่ กำลังคน ระบบนวัตกรรมและสาขาอุตสาหกรรมสำคัญ 4.บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานให้ทุน ไม่ซ้ำซ้อนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณ

นโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. พ.ศ.2563 – 2570 แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อใหญ่ 1.การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 2.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม 3.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 4.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ       ระบบการปฏิรูปมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยระบบ อววน. ประกอบด้วย 4 แพลตฟอร์ม ได้แก่ แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ 1) สร้างระบบผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ 2) ผลิตกำลังคนระดับสูงรองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) 3) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต 4) ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต (AI for All) 5) ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้า และการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ 6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม 7) โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร 8) สังคมสูงวัย 9) สังคมคุณภาพและความมั่นคง แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน 10) ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจ 1) พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และเขตเศรษฐกิจนวัตกรรม 12) โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ 13) นวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรม 14) ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ 15) เมืองน่าอยู่ (Smart/Livable City) รวมถึงโปรแกรมที่ 16 การปฏิรูประบบการพัฒนาด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนัวตกรรม (อววน.) ซึ่งเป็นประเด็นคาบเกี่ยวของทั้ง 4 แพลตฟอร์ม

 642 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *