รศ.ดร.พาสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้าน วท. กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ประชุมหารือ เรื่องแนวทางการสร้างหลักสูตรออนไลน์ ของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

“นพ.ปฐม” รองปลัด อว. เปิดการประชุมสมาคมนักวิชาชีพไทยในภูมิภาคยุโรป ATPER 2019 ณ เมือง DUSSELDORF สหพันธรัฐเยอรมนี
“ปลัดฯ สรนิต” ชวนคนทุกวัย อัพเดทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน และโลกอนาคตที่ล้ำสมัย ในงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2562” ระหว่างวันที่ 16 – 25 ส.ค. นี้

รศ.ดร.พาสิทธิ์  หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)/ ศ.น.ท.ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน/ ศ.ดร.สันติ แม้นสิริ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ โรงเรียนสุรวิวัฒน์/ รศ.ดร.มาลี ตั้งสถิตกุลชัย อาจารย์ประจำโครงการ วมว. (มทส.)/ นายมานพ วงษ์คำ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กลุ่มบริการวิชาการ (ห้องเรียนพิเศษ) โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ได้ร่วมประชุมปรึกษาหารือ ในประเด็นแนวทางการสร้างหลักสูตรออนไลน์ ในเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน และแนวทางอาชีพการเป็นนักวิจัย โดยใช้ความรู้ความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่จากสถาบันฯ เพื่อผลิตสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ โดยในระยะเริ่มต้นจะให้เป็นไปในรูปแบบบทเรียนเสริมความรู้ก่อน แล้วจึงพัฒนาเป็นหลักสูตรออนไลน์ที่มีการวัดผลการเรียนรู้ โดยจะให้นักเรียนในโครงการ วมว. ใช้นำร่องก่อน อีกทั้งขอให้มีกิจกรรมเพิ่มเติม คือ การเชิญนักวิจัยของสถาบันฯ ไปร่วมเผยแพร่ความรู้ตามศูนย์ต่างๆ ของโครงการ วมว. และให้มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนในโครงการ วมว. ที่มีความสนใจในงานวิจัยของสถาบันและผ่านการคัดเลือกให้เข้ามาร่วมกิจกรรมหรือทำโครงงานที่สถาบันฯ ด้วย ซึ่งทางสถาบันฯ ยินดีร่วมการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ ดังกล่าว สำหรับการจัดกิจกรรมให้นักเรียนในโครงการ วมว. นั้น ปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการ วมว. จากศูนย์โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย มาศึกษาและทำโครงงานกับนักวิจัยในสถาบันบ้างแล้ว ในการที่เสนอให้ขยายไปที่ศูนย์อื่นๆ นั้น ทางสถาบัน มีความยินดีที่จะร่วมดำเนินการในโอกาสต่อๆ ไป

โอกาสนี้ ศ.ดร.สันติ แม้นสิริ รองอธิการบดีฯ ได้ให้ข้อมูลว่าศูยน์นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา มีการจัดทำและพัฒนาสื่อการเรียนการสอนออนไลน์อยู่แล้ว โดยจะให้ครูที่มีความสามารถในการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ จากโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่นครชัยบุรี (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) มาร่วมกันทำหลักสูตรวิชาวิทยาศาตร์พื้นฐาน แบบออนไลน์ เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้งาน จึงเห็นว่าเป็นการดีที่จะพัฒนาหลักสูตรประเภทนี้ และควรขยายผลไปที่หน่วยงานอื่นๆ ในกระทรวงฯ จะเป็นผลดีเป็นอย่างมาก และยินดีให้ความช่วยเหลือในการจัดทำหลักสูตรออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง

 663 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *