🔸🔹ก.วิทย์ฯ ลงพื้นที่ขอนแก่น ลุยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ

⚙️กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หนังสือรายงานประจำปี 2561 วท.

🔸🔹ก.วิทย์ฯ ลงพื้นที่ขอนแก่น ลุยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผน วทน. สู่ภูมิภาค” กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ 2562

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น/ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การทบทวนแผน วทน. สู่ภูมิภาค (ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 – 2564)” กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี พ.ศ.2562 เพื่อทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค รวมถึงทบทวนแผนงานและโครงการในระยะเวลา 4 ปี โดยครั้งนี้จัดขึ้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดทำข้อเสนอโครงการในปีงบประมาณต่อไป และสร้างการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่าย ในการนี้ ได้รับเกียรติจากนางสาวอัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดการประชุมฯ พร้อมมอบแนวนโยบายการบูรณาการและขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมในครั้งนี้

 

   

ดร.อัจฉรา กล่าวว่า ได้มอบแนวทางนโยบายการบูรณาการให้แก่เจ้าหน้าที่คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายและอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความสำคัญต่อภาคการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครัวเรือน กลุ่มวิสาหกิจ จนไปถึงระดับผู้ประกอบการ SME เพื่อให้การนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง เติบโต อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่นยืน ทั้งในกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้ดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0 การประชุมในครั้งนี้ ก็เพื่อทบทวนถึงสิ่งที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปีที่ผ่านมา ว่าควรมีการปรับปรุง แก้ไข หรือมุ่งเน้นไปในทิศทางใด ซึ่งต้องย้อนกลับมามองเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันโครงการต่างๆ จนประสบผลสำเร็จ หรือกลไกของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีสถาบันการศึกษาเป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมไปสู่ชุมชนต่างๆ หน้าที่ของเรา คือ ต้องทำให้ประชาชน ชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สามารถอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ด้วยพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม

โครงการต่างๆ ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับ คลินิกเทคโนโลยีเครือข่ายได้ทำร่วมกันมาเกือบ 20 ปี ต้องกลับมาทบทวนว่า ในความเป็นจริงแล้ว ชุมชนต้องการอะไร และสิ่งที่จะนำไปถ่ายทอดให้คืออะไร ต้องปรับให้สอดรับกับบริบทในพื้นที่ และการเปลี่ยนแปลงของประเทศด้วย การดำเนินงานควรจะเดินไปทิศทางเดียวกัน ผลักดันให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นที่รู้จัก และทำให้ชุมชนเกิดการรับรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของ วทน. สร้าง impact ให้เกิดขึ้นกับชุมชน สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการที่จะเกิดขึ้นอาจจะเป็นโครงการที่นำไปพัฒนาด้านการเกษตร โดยเฉพาะข้าว และด้านสิ่งทอ อาทิ ผ้าพื้นเมืองต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของภาคนี้

นอกจากนี้ ปัญหาที่สำคัญในปัจจุบัน คือ สถานการณ์ฝุ่นละออง ภายในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง แม้สถานการณ์ดีขึ้น แต่ควรมีการวางมาตรการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เพื่อป้องกันและบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะบทบาทของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานเครือข่าย จะต้องนำเอาความรู้ด้าน วทน. มาแก้ไขปัญหานี้

ด้านนางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กล่าวรายงานถึงการจัดประชุมฯ ในครั้งนี้ ว่า สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี/ ได้ดำเนินงานตามภารกิจ/ ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน/ โดยผ่านกลไกเครือข่ายความร่วมมือที่เรียกว่า “คลินิก เทคโนโลยี”/ ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีจำนวน 36 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการมากกว่า 20 จังหวัด การขับเคลื่อนงานด้าน วทน. ในพื้นที่ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้ 4 โครงการ ได้แก่
1. โครงการส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและ เศรษฐกิจชุมชน/ โดยมีเป้าหมาย คือ การนำองค์ความรู้ด้าน วทน. ไปพัฒนาชุมชนและผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการ บริการให้คำปรึกษา บ่มเพาะธุรกิจ หมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาสาสมัครวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. โครงการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์/ เป็นการนำ วทน. ยกระดับและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์โอทอป โดยระหว่างปี พ.ศ. 2560 – 2561 มีผู้ประกอบการที่ ได้รับการพิจารณา จำนวน 183 ราย/ 215 ผลิตภัณฑ์
3. โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์/ เพื่อการผลิตระดับชุมชน เป็นโครงการสนับสนุนนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาที่ต้องการพัฒนา เครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในด้านการเกษตร หัตถกรรม ในระดับวิสาหกิจ ชุมชน โดยมีเครื่องจักรต้นแบบเพื่อการผลิตระดับชุมชนตั้งแต่ปี 2547 – 2561 รวม 170 เครื่อง
4. โครงการศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ศวภ.2 ซึ่งรับผิดชอบ 12 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีภารกิจในการจัดทำแผนงาน/ โครงการด้าน วทน. เพื่อการพัฒนาจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้ปรับกระบวนการเพื่อขับเคลื่อนงานด้วย วทน. สู่การพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 12
โดยได้ร่วมกับเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดทำห่วงโซ่คุณค่าด้าน วทน. จำนวน 4 ห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ 1. นวัตกรรมผ้าทออีสาน/ 2. การพัฒนาข้าวด้วย วทน./ 3. การพัฒนาสมุนไพรด้วย วทน./ 4. นวัตกรรมการผลิต เกษตรปลอดภัยครบวงจร (พืชและสัตว์) สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2562 มีข้อเสนอโครงการที่สอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าข้างต้นและได้รับการสนับสนุนงบประมาณทั้งสิ้น 25 โครงการงบประมาณรวม 6.45 ล้านบาท

  

สำหรับการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในช่วงบ่ายวันนี้ นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในฐานะประธานคณะกรรมการ โครงการส่งเสริมการนำ วทน. เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชม ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟัง การทบทวนกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่การพัฒนาภูมิภาค (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 – 2564) : กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 รวมถึงแผนงานและโครงการในระยะ 4 ปี ตามห่วงโซ่คุณค่าดังกล่าว พร้อมมอบนโยบายและข้อคิดเห็นการดำเนินงานโครงการในห้องคลินิคเทคโนโลยีเครือข่ายอีกด้วย

 2,990 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *