สป.อว พร้อมนักวิจัย MTEC ลงพื้นที่หารือ กทม. ทดสอบต้นแบบเรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน ณ ประตูระบายน้ำคลองสามวา เขตประเวศ

กิจกรรมนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานโครงการฯ ภายใต้แนวคิด Health & Beauty from Nature to Well – being Society นวัตกรรมสุขภาพและความงามจากธรรมชาติเพื่อสังคมที่ยั่งยืน
เจ้าหน้าที่ สป.อว พร้อมทีมนักวิจัย MTEC ลงพื้นที่หารือและรับโจทย์การพัฒนาเรือช้อนตักวัชพืชสำหรับคลองซอยบริเวณชุมชนริมน้ำ ณ อบต.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

วันที่ 22 มีนาคม 2567 ผู้แทน กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) นำโดย ดร.ชาญวิทย์ ตรีเดช ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ผธท.) พร้อมด้วยทีมวิจัยงานพัฒนาเครื่องจักรกล ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) คณะทำงานในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ลงพื้นที่ติดตามการทดสอบต้นแบบเรือช้อนตักขยะทิ้งริมตลิ่งสำหรับคลองชุมชน ณ ประตูระบายน้ำคลองสามวา เขตประเวศ พื้นที่คลองระบายน้ำภายใต้การบำรุงรักษาโดยสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผลงานวิจัยและพัฒนาภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาและวิจัย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาผลงานด้านเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะเฉพาะ มีความต้องการใช้งานในประเทศที่ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงในเชิงการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะหรือเพื่อส่วนรวมที่สร้างคุณค่าและส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และภายใต้แนวคิดเพื่อ BCG

ในการนี้ สป.อว. ได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานคร นำโดย นายสุราษฎร์ เจริญชัยสกุล ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ และนายนิพนธ์ ศรีเรือง ผู้อำนวยการกองระบบคลอง ร่วมทดสอบต้นแบบเรือช้อนตักขยะฯ ในครั้งนี้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ณ เขตคลองสามวา เริ่มต้นการใช้งานเพื่อการตักและกวาดเก็บผักตบชวา สำหรับการจัดการทางน้ำและทำความสะอาดคูคลองในพื้นที่ตั้งแต่บริวณประตูระบายน้ำ คลอง 4 ตะวันตก ตั้งแต่ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เรื่อยมาเรือช้อนตักขยะฯ มีเครื่องยนต์ต้นกำลังเป็นเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 14 แรงม้า ความเร็วรอบ 1,800 รอบต่อนาที สามารถยกน้ำหนักด้วยแขนกลที่ส่วนหน้าได้มากถึง 152 กิโลกรัม สามารถช้อนตักได้สูง 2.5 เมตร เมื่อวัดจากระดับกาบเรือ สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 4.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถลดแรงงานคนในการเก็บขยะ/วัชพืช ในคูคลองได้เป็นอย่างดี และในการติดตามการใช้งานครั้งนี้

ในฐานะผู้แทนกรุงเทพมหานคร และคณะผู้แทนสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ได้ร่วมหารือถึงโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาผลงานและขยายผลไปยังแหล่งน้ำต่าง ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ที่อาจเกิดแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ภายใต้โครงการและกิจกรรมของ สป.อว. ต่อไปในอนาคต

 2,327 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *