อุทยานวิทย์ ภาคเหนือ เจ้าภาพจัดประกวดจัดแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ โครงการ “เส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11” (R2M) รอบระดับประเทศ ประจำปี 2566 อย่างยิ่งใหญ่

มงคลฤกษ์ พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ห้ามพลาด จัดเต็มตลอด 3 วัน” พลิกโฉมวงการนวัตกรรมเสริมความงาม” งานนี้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โดยอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) เปิดบ้านจัดกิจกรรมแข่งขัน “โครงการเส้นทางสู่นวัตวณิชย์ ครั้งที่ 11” (Research to Market Thailand: R2M 2023) ระดับประเทศ ประจำปี 2566 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย สร้างโอกาสในการผลักดันผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีศักยภาพจากมหาวิทยาลัยให้นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจได้จริง รวมถึงส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการนวัตกรรมรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยอาศัยกลไกลและบริการของเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคทั่วประเทศ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ณ NSP Rice Grain Auditorium อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) ในการนี้ คุณสุนีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย คุณเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) กล่าวรายงาน และ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ คณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ และนักศึกษาที่ผ่านการเข้ารอบสู่การแข่งขันระดับประเทศ.ทั้งนี้ เครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ภูมิภาค ได้ทำการคัดเลือกตัวแทนทีมนักศึกษาเข้าร่วมโครงการฯ จนเข้าสู่การแข่งขันรอบสุดท้าย ในระดับประเทศ เพื่อค้นหาทีมที่มีศักยภาพในการนำเสนอแผนธุรกิจจากผลงานวิจัยที่มีความโดดเด่นที่สุด โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 22 ทีม จาก 16 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ซึ่งมีผลการแข่งขันดังนี้ …

รางวัลชนะเลิศ : ทีม WizMed จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำเสนอผลงาน PASUK น้ำยาพรมร่างอาจารย์ใหญ่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 : ทีม CARNE จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
นำเสนอผลงานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อระบุระดับไขมันแทรกกล้ามเนื้อ (Beef Marbling Standard)
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 : ทีม เงินขวัญถุง จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นำเสนอผลงานผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเส้นผมสูตรไม่ใช้น้ำ
รางวัลชมเชย : ทีม Bac-tech จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
นำเสนอผลงานสเปรย์รักษาแผลเบาหวานจากสารสกัดแบคทริโอซิน
รางวัลชมเชย : ทีม ModernPlas จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นำเสนอผลงาน PlasOne ผลิตภัณฑ์พลาสมาเย็นเพื่อการฟื้นฟูเส้นผม

 2,965 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *