สป.อว. พร้อม TGI ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการพัฒนาสร้าง “เครื่องตัดผ้าอัจฉริยะ”

สป.อว. พร้อม TGI ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการพัฒนาสร้างเครื่องลอก กะเทาะเยื่อและคัดขนาดเมล็ดมะม่วงหิมพานต์
มงคลฤกษ์ พิธีวางศิลาฤกษ์อาคารศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เมื่อวันพุธที่ 17 มกราคม 2567 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) พร้อมสถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการพัฒนาสร้าง “เครื่องตัดผ้าอัจฉริยะ” ภายใต้โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ พัฒนาโดย นายวชิรวิทย์ โกมลพิสิฐจากอุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิสถาบันไทย – เยอรมัน ดำเนินการติดตั้งและทดสอบการใช้เครื่อง ณ บริษัท นิทัส เทซิเล จำกัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร

บริษัท นิทัส เทซิเล จำกัด เป็นบริษัทนำเข้าผ้ามาจากประเทศจีนเป็นหลัก ผ้าที่นำเข้าจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพไม่ให้มีรอยตำหนิ ซึ่งเดิมใช้การตรวจสอบด้วยสายตาเท่านั้น นอกจากนี้ใช้แรงงานคนในขั้นตอนการตัดและวัดขนาดผ้า ผ้าส่วนใหญ่ที่ตัดมีขนาดหน้ากว้าง 3 เมตร บางผืนมีขนาดใหญ่มากกว่า 40 หลา ส่งผลให้ใช้เวลานาน เกิดความคลาดเคลื่อน ขนาดที่ได้ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้คุณภาพของผ้าที่จำหน่ายให้กับลูกค้ารายย่อยพบว่ามีรอยตำหนิปะปนอยู่ ​“เครื่องตัดผ้าอัจฉริยะ” เป็นเครื่องมือที่สามารถทำการตัดผ้าได้ตามความต้องการ โดยมีระบบการจัดการข้อมูลขนาดผ้าอัตโนมัติ ทำให้การตัดผ้านั้นสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยให้คุณภาพของผ้าที่ตัดออกมาคงที่และลดการสูญเสียเนื้อผ้า มีหลักการทำงานคือ ผ้าจะถูกนำเข้าเครื่องม้วนแล้วเคลื่อนที่ผ่านตัววัดชิ้นงานซึ่งมีชุดวัดความยาวผ้าแบบดิจิตอล ข้อมูลขนาดผ้าจะถูกส่งไปแสดงผลในคอมพิวเตอร์ เมื่อเทียบขนาดของผ้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ใบมีดจะทำการตัดผ้า โดยใบมีดมีประสิทธิภาพสามารถตัดผ้าได้ที่ความหนาถึง 1 เซนติเมตร ส่วนผ้าที่ไม่ได้ใช้งานจะหมุนกลับไปม้วนเก็บ ทั้งนี้ผู้พัฒนาได้เพิ่มระบบ AI เพื่อใช้ในการตรวจสอบตำหนิบนผ้า โดยมีการติดตั้งกล้องจำนวน 2 ตัว เพื่อตรวจจับสิ่งผิดปกติของผ้า เช่น ลักษณะสีและรอยขาดเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของลักษณะผ้าแบบปกติที่ถูกบันทึกไว้ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการตรวจสอบคุณภาพผ้าทั้งในระหว่างการวัดขนาดผ้าและในการตัดผ้า​ผู้ประกอบการได้ทดสอบการตัดผ้าและได้จัดฝึกอบรมแก่พนักงานในการใช้เครื่อง พบว่าได้รับความพึงพอใจ เนื่องจากลดเวลาในการทำงาน สินค้าที่ได้มีคุณภาพมากขึ้นและสามารถผลิตทันต่อความต้องการของลูกค้า

 2,787 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *