16 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับ สถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านแบบเติมน้ำป้อนระบบกึ่งอัตโนมัติ

สจล. ส่งมอบเครื่องจ่ายออกซิเจนในอัตราการไหลสูง จำนวน 20 เครื่อง ให้ สป.อว. เพื่อส่งต่อให้กับโรงพยาบาลที่ขาดแคลนภายในประเทศ
จัดงานแฟชั่นวีคผ้าไหมไทยนานาชาติ ครั้งที่ 3 ปี 2565

16 ธันวาคม 2565 – เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับ สถาบันไทย – เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องกลั่นสุราพื้นบ้านแบบเติมน้ำป้อนระบบกึ่งอัตโนมัติ ภายใต้งบประมาณโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน

พัฒนาโดย : นายวิทยา โพธิ์ถาวร และคณะ
จากหน่วยงาน : วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
ติดตั้งและใช้งาน : ณ วิสาหกิจชุมชนทับท้อน การสุรา อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี


เดิมกระบวนการกลั่นสุราใช้แรงงานคนและใช้ไม้ฟืนในการให้ความร้อน ซึ่งยากต่อการควบคุมอุณหภูมิน้ำหมักให้คงที่ วิสาหกิจชุมชนฯ มีอุปกรณ์การกลั่นยังไม่ถูกสุขลักษณะส่งผลต่อความไม่แน่นอนของคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องที่พัฒนาขึ้นสามารถทำงานแบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้พลังงานจากแก๊สหุงต้มแทนการใช้ไม้ฟืนให้ความร้อน มีระบบควบคุมอุณหภูมิน้ำในหอกลั่น และระบบเติมน้ำหมักลงสู่หม้อต้มอัตโนมัติ โดยกระบวนการกลั่นจะมีการตรวจจับอุณหภูมิน้ำหมักให้อยู่ในช่วงที่กำหนด และมีระบบมอเตอร์ปั๊มน้ำทำหน้าที่หล่อเย็นชุดควบแน่น เพื่อให้ไอของเอทานอลจากน้ำหมักไหลผ่านไปยังชุดควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ เมื่อน้ำหมักในหม้อกลั่นต่ำกว่าระบบเซนเซอร์จะเปิดโซลินอยด์วาล์วเพื่อเติมน้ำหมักป้อนเข้าหม้อกลั่นโดยอัตโนมัติ ซึ่งน้ำหมักที่ป้อนเข้าจะมีอุณหภูมิสูงเนื่องจากได้รับความร้อนที่เหลือทิ้งจากถังกลั่นทำให้ไม่เปลืองเชื้อเพลิงในการทำให้น้ำหมักเดือด เครื่องมีกำลังการผลิต 50 ลิตรต่อวัน มีระบบความปลอดภัยทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบของเครื่องทำจากวัสดุสแตนเลส เกรด SUS 304 และมีล้อเลื่อนสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ทั้งนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทับท้อนการสุราฯ ได้รับใบอนุญาตขายสุราประเภทที่ 1 สำหรับโรงอุตสาหกรรมกลั่นชนิดสุราขาว ที่ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่าเจ็ดคน

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน
#TGI

 4,260 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *