8 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลาพร้อมระบบล้างอัตโนมัติ

5 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า ของโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
อว. ร่วมพิธีเปิดงานเกษตรภาคเหนือ ครั้งที่ 10 Northern Agri CMU Expo 2022 พร้อมจัดแสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP และกิจกรรมการประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ภาคเหนือ) ประจำปี พ.ศ. 2566

8 ธันวาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ สถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องขอดเกล็ดปลาพร้อมระบบล้างอัตโนมัติ พัฒนาโดย อาจารย์ชินภัทร ธุระการ หน่วยงาน มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ภายใต้ โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน ที่ติดตั้งเพื่อทดสอบการใช้งาน ณ วิสาหกิจชุมชน OTOP กลุ่มผลิตภัณฑ์จากปลากาฬสินธุ์ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเครื่องจักรฯ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการขอดเกล็ดปลาที่มีทั้งขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ โดยเครื่องดังกล่าวมีการทำงานสองระบบ คือ การสั่งงานด้วยตัวเอง กับการสั่งงานด้วยระบบอัตโนมัติ ซึ่งการทำงานทั้งสองแบบนี้จะแบ่งกระบวนการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนขอดเกล็ดปลา (ส่วนนี้หากตั้งค่าการขอดอัตโนมัติ จะใช้เวลาแตกต่างกันไปตามขนาดตัวปลา เวลาจะแปรผกผันตามขนาดตัวปลา นอกจากนี้ ส่วนนี้ยังมีการออกแบบโดยการตอกรูให้มีระยะห่างพอประมาณกับปลาขนาดเล็ก โดยตอกให้เกิดปากรูที่ทำมุมเอียงเป็นองศาทำให้เหมาะกับการขอดเกล็ดปลา) ส่วนล้างตัวปลา และส่วนสลัดน้ำจากตัวปลา จะมีน้ำหมุนเวียนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เครื่องดังกล่าวสามารถล้างปลาได้สูงสุดถึง 15-20 กิโลกรัมต่อครั้ง ใช้เวลาขอดเกล็ดปลาประมาณ 3-5 นาที โดยประมาณ (ตามขนาดปลาจากขนาดใหญ่ไปถึงขนาดเล็ก) ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม ขนาดตัวเครื่องใช้กำลังไฟฟ้า 3 เฟส 3 แรงม้า 2.2 kW

ทั้งนี้ ปลาที่นำมาใช้กับเครื่องดังกล่าว เป็นปลาที่ได้จากกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียง และเมื่อขอดเกล็ดและล้างปลาเรียบร้อยแล้วก็จะนำไปทำเป็นปลาแดดเดียว หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อจำหน่ายต่อไป

ข้อดี ของเครื่องขอดเกล็ดปลาฯ คือ เป็นเครื่องที่มีกระบวนการครบจบในเครื่องเดียว การประกอบเครื่องไม่ซับซ้อน แยกชิ้นส่วนในแต่ละกระบวนการทำให้สามารถถอดชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาดในแต่ละครั้งได้ง่าย และสะดวก

#กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สถาบันไทย-เยอรมัน #TGI

 566 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *