วันที่ 7 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมัน ลงพื้นที่เพื่อส่งมอบเครื่องผลิตเส้นด้ายจากพืชเส้นใยยาว ภายใต้โครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน โดยเป็นการขยายผลจากต้นแบบที่พัฒนาสำเร็จแล้ว ผู้พัฒนาคือ นายสมนึก วันละ วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ติดตั้งและทดสอบการใช้งาน ณ วิสาหกิจชุมชนทอผ้าครึ่งใต้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย วิสาหกิจชุมชนฯ แห่งนี้ เป็นทั้งศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร เกษตรแปรรูป และผ้าทอใยสับปะรด เดิมใช้การต่อด้ายแบบมัดปม เมื่อใช้เครื่องผลิตเส้นด้ายฯ การต่อด้ายจึงไม่มีรอยต่อ ผลิตภัณฑ์ดูสวยงาม อีกทั้งยังเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ตัวเครื่องสามารถควบคุมความเร็ว มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เหมาะสำหรับชุมชน อีกทั้งยังประหยัดพลังงาน และลดระยะเวลาการผลิตลงอีกด้วย
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม#สถาบันไทย-เยอรมัน
954 total views, 1 views today