นักวิจัยโครงการปั้นดาว “สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” คว้ารางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูงสาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ประจำปี 2565 ในงาน TRIUP Fair 2022

ประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา (ภาคใต้) ประจำปีพุทธศักราช 2565
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ Thailand Center of Excellence in Physics

นักวิจัยโครงการปั้นดาว “สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” คว้ารางวัลผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูงสาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ประจำปี 2565 ในงาน TRIUP Fair 2022

          เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ศ.กิตติคุณ นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กสว.) เป็นประธานในการมอบรางวัล ผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2565 Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with High Impact 2022 ณ Mitrtown Hall 1-2 ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์ โดยมีนักวิจัยโครงการปั้นดาว จากสำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลระดับดี สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology) ผลงานวิจัย “ข้าวพันธุ์ใหม่จากเทคโนโลยีลำไอออนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรไทย” และได้รับเงินรางวัลจากกองทุนส่งเสริม ววน.จำนวนเงิน 100,000 บาท โดยมีคณะผู้วิจัย ดร.จิรณัทฐ์ เตชะรัง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (หัวหน้าทีมวิจัย) และ ดร.บุญรักษ์ พันธ์ไชยศรี ผู้ร่วมวิจัย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้รับมอบรางวัล ภายในงานยังมีงานวิจัยของโครงการปั้นดาวจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ได้ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

1. การสร้างเครื่องผลิตกราฟีนออกไซด์และรีดิวซ์กราฟีนออกไซด์ระบบอัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม วัสดุแห่งอนาคตที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และการเชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนธุรกิจใหม่ (New S-Curve) ที่มีศักยภาพในการผลิตกราฟีนออกไซด์ที่เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรมในไทย 15 กิโลกรัมต่อเดือน โดยคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 60-100 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งมีราคาต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศถึง 50%

2. การผลิตเครื่อง Compact Air Plasma Jet ภายใต้มาตรฐานการผลิตเครื่องมือแพทย์ ISO 13485 สำหรับผู้ป่วยแผลเรื้อรัง มีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรียในบริเวณแผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและกระตุ้นเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้แผลหายกลับเป็นปกติได้การพ่นพลาสมาไม่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บแสบที่แผล และทำให้แผลหายเร็วขึ้น เนื่องจากสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยาแก้อักเสบเพื่อฆ่าเชื้อในแต่ละวันอีกด้วย จึงเป็นการลดค่ายา และอุปกรณ์ทำแผลต่าง ๆ.

#ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์

#สำนักงานโครงการพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

#MHESI #PERDO #STeP #CoE #TSRI #สกสว #กปว

#สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม

#ผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูงประจำปี2565

 972 total views,  2 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *