อว. จับมือสมาคมเครื่องจักรกลไทย สร้างต้นแบบเครื่องจักรกลหลากหลายสาขา ลดภาระผู้ประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศ

สป.อว. MTEC มทส. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน การพัฒนาระบบบำบัดมูลฝอยติดเชื้อโรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนามด้วยลมร้อน ในสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19
เข้าร่วมพิธีเปิด งานสัมมนาแผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดสตูล สร้างมาตรฐานจำเพาะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงสมบัติด้านคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

วันที่ 27 เมษายน 2565 : นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงานแถลงข่าว “ความสำเร็จการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบ ภายใต้โครงการ สร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า” โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ (สป.อว.) ร่วมกับสมาคมเครื่องจักรกลไทย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จจากความร่วมมือในการพัฒนาสร้างเครื่องจักรและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในหลากหลายสาขา งานดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องแถลงข่าว ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า สป.อว. (ถนนโยธี)

นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีภารกิจใน
การส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลสถาบันอุดมศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ อีกทั้ง ยังมีการส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนให้มีทักษะเฉพาะทาง และส่งเสริม ความร่วมมือในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน จึงทำให้มี การสนับสนุนทุนวิจัยภายใต้โครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า เพื่อทำวิจัยในรูปแบบ Reverse Engineering ซึ่งเป็นการวิจัยเครื่องจักรสมัยใหม่จากต่างประเทศ นำมาถอดแบบศึกษาโครงสร้าง ชิ้นส่วนและฟังก์ชันการทำงานต่างๆ จากนั้นนำองค์ความรู้ที่ได้ มาผสมผสานกับสหวิทยาการที่เรามีอยู่ ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบที่นำมาแถลงข่าวในครั้งนี้ มีทั้งสิ้น 7 ผลงาน ประกอบด้วย


1) แพลตฟอร์ม การเชื่อมต่ออุตสาหกรรมอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรม SMEs
2) หุ่นยนต์ส่งของและวัดอุณหภูมิผู้ป่วยพร้อมระบบสื่อสารทางไกล
3) เครื่องอบทำผงแห้งแบบพ่นฝอยแบบผงเกาะกลุ่ม
4) เครื่องสกัดด่วนอาหารและสมุนไพร
5) ตู้อบฟิล์มหดอัจฉริยะ
6) เครื่องผลิตน้ำจากอากาศ และ
7) ระบบควบคุมบรรยากาศเพื่อรักษาคุณภาพข้าวและกำจัดมอดสำหรับไซโลเก็บข้าวควบคุมด้วยระบบ IoT สิ่งเหล่านี้คือความสำเร็จจากความร่วมมือของหลากหลายภาคส่วน ในการพัฒนาเครื่องจักรและมีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น

“เรามุ่งมั่นพัฒนาและใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องจักรกลต้นแบบให้ดีกว่าเดิม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบัน เช่น มีกำลังการผลิตที่เหมาะสม ราคาถูก และสิ่งสำคัญที่สุดคือสามารถซ่อมแซมและบำรุงรักษาได้ง่าย ซึ่งกระบวนการทำ Reverse Engineering ถือเป็นการย่นระยะเวลาในการพัฒนาเทคโนโลยีได้ดี โดยในหลายประเทศมีการเริ่มต้นพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้จนสามารถก้าวกระโดด กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำได้อย่างรวดเร็วซึ่งประเทศไทยจะก้าวไปสู่จุดนั้นอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้ และที่สำคัญ อว. จะเดินหน้าผลักดันการวิจัยและพัฒนาผลงานด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับองค์กรวิจัย ทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ ให้กับประเทศต่อไป”

 1,858 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *