ส่งมอบ”เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ”แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรณ์ชาวสวนยาง ตำบลท่าอุเทน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี

จัดนิทรรศการ ในงาน NSP Networking and Year End 2020 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลของสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

วันที่ 23 ธันวาคม 2563 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำภูมิภาค ภาคใต้ (ศวภ.3) ร่วมกับ สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สส.) ลงพื้นที่ส่งมอบ”เครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากระบบกึ่งอัตโนมัติ”แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรณ์ชาวสวนยาง ตำบลท่าอุเทน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎ์ธานี โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายสุทธิพงษ์ คล้ายอุดม เป็นประธานการส่งมอบ นายอำเภอกาญจนดิษฐ์ นายก อบจ. ผอ.ศวภ3 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดฯ ผู้แทนเกษตรและสหกรห์จังหวัดฯ พลังงานจังหวัด พัฒนาชุมชนจังหวัด การยางจังหวัด ฯลฯ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีส่งมอบ ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าวได้รับทุนสนับสนุนภายใต้โครงการ “การพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อการผลิตระดับชุมชน” ดร. ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎ์ธานีผู้วิจัยพัฒนาเครื่องฯ ได้กล่าวว่าพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีการปลูกหมากเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลหมากมาจำหน่ายหรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมากเฉพาะผลหมากมาจำหน่ายหรือแปรรูปทำหมากแห้งส่วนกาบหมากก็จะทิ้งไว้ในสวน ทั้งนี้หากนำกาบหมาก มาทำผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายก็จะเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพิ่มขึ้น ประจวบกับในสภาวะปัจจุบันราคา พืชผลทางเกษตรมีราคาตกต่ำลงมากทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลง ดังนั้นทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพเกษตรกรชาวสวนยาง ตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงมีแนวคิดที่สร้างกิจกรรมของชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้จากเดิมที่รวมกลุ่มกันผลิตปุ๋ยใส่ยางพาราจำหน่ายแต่ปัจจุบันจำหน่ายได้น้อยลง นอกจากนั้นยังได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีการพัฒนากลุ่มเพื่อยกระดับเกษตรกรเป็นเกษตรอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นได้มีมติที่จะนำวัสดุที่ไม่ก่อประโยชน์ (กาบหมาก) มาผลิตเป็นภาชนะต่าง ๆ แทนโฟม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันเครื่องแปรรูปกาบหมากมีราคาที่ค่อนข้างแพง และยังใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยาก กลุ่มเกษตรกรไม่มีกำลังในการจัดซื้อรวมทั้งยังไม่มีบุคลากรที่มีความสามารถในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรหากผ่านการใช้งานแล้วมีการชำรุด ดังนั้นทางจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงได้ประสานกับวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีเพื่อคิดค้นและพัฒนาเครื่องจักรสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมที่เหมาะสมกับการใช้งานในระดับชุมชนทั้งราคา กระบวนการทำงาน กำลังการผลิตและการบำรุงรักษาจากสภาพและปัญหาดังกล่าวทางผู้วิจัยจึงได้คิดสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ที่พัฒนาระบบการทำงานและพัฒนาอุปกรณ์ให้ใช้กระบอกสูบเพียงกระบอกเดียว แต่สามารถเลือกอัดได้ 2 รูปทรง เช่น จานหรือถ้วยโดยไม่ต้องเปลี่ยนโมล ส่งผลให้ทำงานได้สะดวกและราคาถูกเพราะลดชิ้นส่วนและอุปกรณ์ประกอบของเครื่องลง และประการสำคัญคือได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสู่การจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และมีส่วนช่วยในการลดมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพที่ดีให้กับคนในชุมชน สังคมและของโลกได้ ดังนั้นการสร้างเครื่องผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารจากกาบหมากแทนโฟมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน จึงช่วยให้เกษตรกรและสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนสามารถสร้างงานเพิ่มจากสิ่งของที่เหลือจากการแปรรูป มาสร้างรายได้ที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรที่ทำงานอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง และยังสามารถเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อประโยชน์มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ก่อประโยชน์ให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย โดยมีเป้าหมายการนำไปใช้ประโยชน์จริงในพื้นที่/ชุมชนอย่างยั่งยืน

 2,599 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *