เปลือกโลกสั่นสะเทือนน้อยลงหลังโควิด-19 ลดความเคลื่อนไหวของมนุษย์

(วันที่ 10 เมษายน 2563) สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี โดย ส่วนบริหารงานเทคโนโลยี (สบท.)จัดประชุมคณะกรรมการกำหนดราคากลางและร่างขอบเขตงาน (TOR) การจ้างเหมาจัดงานวันเทคโนโลยีและนวัตกรรมของไทย ประจำปี 2563 TechnoMart 2020 ครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม ชั้น 3 อาคาร (สวทช.)
STEP ต่อยอดเทคโนโลยี 3D PRINTING ผลิตหน้ากาก FACE SHIELD ส่งต่อให้บุคลากรทางการแพทย์สู้ภัยโควิด – 19

การระบาดใหญ่ทั่วโลกของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ทำให้กิจกรรมความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่เที่ยวบินและเที่ยวรถไฟจำนวนมากถูกยกเลิก รถยนต์บนท้องถนนมีน้อยลงเพราะคนส่วนใหญ่กักตัวเองอยู่กับบ้าน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมและสถานที่ก่อสร้างก็หยุดเดินเครื่องจักร

ปรากฏการณ์ไวรัสหยุดโลกที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลทางธรณีวิทยาให้พื้นดินหรือส่วนที่เป็นเปลือกโลก (crust) อยู่นิ่งไม่สั่นไหวได้มากกว่าปกติ โดยดร. โทมัส เลอค็อกค์ นักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม เผยกับสถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นของสหรัฐฯ ว่า เครื่องมือตรวจวัดในกรุงบรัสเซลส์พบระดับการสั่นสะเทือนของคลื่นรบกวนพื้นหลัง (background seismic noise) ในเปลือกโลก ซึ่งเป็นคลื่นสะเทือนที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ลดลงอย่างมากระหว่าง 30% – 50% ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนที่แล้ว ซึ่งตรงกับช่วงที่ยุโรปเริ่มปิดโรงเรียนและบริษัทห้างร้านต่าง ๆ ปิดทำการ

การที่คลื่นรบกวนจากความเคลื่อนไหวของมนุษย์หายไปมากเช่นนี้ ส่งผลให้อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นสั่นสะเทือน (seismic wave)จากแผ่นดินไหวและอาฟเตอร์ช็อกที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติทำงานได้ดีขึ้น โดยจะสามารถตรวจจับสัญญาณคลื่นแผ่นดินไหวที่แผ่วเบาเป็นพิเศษได้ แม้เครื่องมือตรวจวัดจะตั้งอยู่ใกล้ย่านตัวเมืองที่ปกติมีการจราจรหนาแน่นก็ตาม

“เราจะได้สัญญาณคลื่นแผ่นดินไหวที่มีคลื่นรบกวนมาปิดบังตรงส่วนบนของมันน้อยลง ทำให้นักธรณีวิทยาสามารถจะหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเหตุไหวสะเทือนใต้พื้นดินได้มากขึ้น” ดร. แอนดี้ ฟราซเซตโต นักธรณีวิทยาจากสถาบันความร่วมมือเพื่อการวิจัยด้านวิทยาแผ่นดินไหวของสหรัฐฯ (IRIS) กล่าวกับวารสาร Nature

นอกจากกรณีที่พบว่าคลื่นรบกวนพื้นหลังในประเทศเบลเยียมลดลงแล้ว นักธรณีวิทยาจากนครลอสแอนเจลิสของสหรัฐฯ และกรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ยังได้รายงานผลการตรวจวัดแบบเดียวกันด้วย แต่อย่างไรก็ตาม นักธรณีวิทยาบางคนแสดงความเห็นว่า สถานีตรวจวัดคลื่นสั่นสะเทือนที่อยู่ห่างไกลความเจริญและปราศจากคลื่นรบกวนอยู่แล้ว น่าจะไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเรื่องนี้

“สิ่งที่เกิดขึ้นอาจเป็นบทเรียนด้านสิ่งแวดล้อมให้กับมนุษย์เราได้ ในอนาคตผู้คนอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นแบบที่ลดกิจกรรมความเคลื่อนไหวให้น้อยลง เช่นหลีกเลี่ยงการเดินทางแบบหนึ่งคนใช้รถยนต์หนึ่งคัน ซึ่งสิ้นเปลืองทรัพยากรและพลังงาน” ดร. เลอค็อกค์กล่าว

 65,003 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *