ดร.สุวิทย์ ประชุมหารือกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ พัฒนาโรงพยาบาลสนาม และเครื่องช่วยหายใจ (VENTILATORS)

ป้องกันไว้ ก็ไม่ผิด เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส COVID- 19
รมว.อว. ตรวจความพร้อม รพ.ศิริราช รับมือโควิด-19 พร้อมส่งมอบชุดตรวจเชื้อโควิด-19 20,000 ชุดแรกให้ สธ. ในสัปดาห์หน้า

วันนี้ (26 มีนาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวง อว. ประชุมหารือกับคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลสนาม และเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) ณ ห้องประชุมวิจิตร ศรีสอ้าน ชั้น 5 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อาคารถนนศรีอยุธยา

          ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า ต้องแยกให้ชัดว่าสิ่งใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ในขณะนี้ อาทิ หน้ากากอนามัย อีกกลุ่มก็เป็นในเรื่องของห้องแยกพิเศษหรืออื่นๆ รวมถึงเรื่องของบุคลากรจากด้านวิศวกรรมกับด้านการแพทย์ที่จะมาร่วมมือกัน หากเป็นมหาวิทยาลัยอย่าง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ให้คณะแพทยศาสตร์กับวิศวกรรมศาสตร์ทำงานร่วมกันไปเลย สำหรับส่วนกลาง บางเรื่องต้องงานทำเดี๋ยวนี้ วางแผน และให้ดูเป็นกรณีไป ส่วนใครจะทำงานร่วมกับใครอาจจะต้องมาดูกันอีกที เราจะต้องทำงานไปก่อน ขึ้นรูปก่อน วาง Spec ถึงเวลาค่อยมา adjust ถ้าหากว่าลงตัวก็ Scale up ดังนั้นจะต้องมีงบประมาณ 2 ส่วน ส่วนหนึ่งสำหรับการวางแผนเป็นกรณีๆไป อาจจะมี 7 – 8 กรณีในกรุงเทพ แล้วต่างจังหวัด งบก้อนที่สอง คือ ถ้าอันไหนมาตรฐานดี ก็ปฏิบัติตามนั้นไป เรื่องของเครื่องช่วยหายใจ ต้องดูว่ามี capacity ที่สามารถทำได้หรือไม่ ซึ่งอันนี้ควรจะเป็นมาตรฐานกลาง รวมถึงเรื่องของหน้ากากอนามัย ควรจะเป็นการทำงานแบบ consortium คือต้องดึงเอกชนร่วมด้วย ต้องมีข้อมูลว่าในประเทศไทย อุตสาหกรรมใดที่สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ได้

รมว.อว. กล่าวโดยสรุปคือ เรื่องแรก Camp Isolation เรื่องของ Home Isolation ต้อง Identify ว่า Home Isolation มี equipment อะไร มีในประเทศหรือไม่ ถ้าไม่มีสามารถพัฒนาเองได้มากน้อยแค่ไหน โจทย์นี้จะมอบให้ทางวิศวกรรมไปช่วยคิด ในทำนองเดียวกันคือในโรงพยาบาลสนาม ก็มี equipment หลายอย่าง อันนี้ต้อง Identify ใหม่ ส่วนที่สองก็คือว่า หากถึงจุดหนึ่งแล้วก็อาจจะต้องใช้ราชภัฏ หรือราชมงคล นอกเหนือจากมหาวิทยาลัยที่มีโรงเรียนแพทย์ที่อยู่ตามภูมิภาค หรือในกรุงเทพฯ ส่วนข้อมูลก็จะต้องเป็นเชิงลึก เป็นรายภาค รายจังหวัดแล้ว หากมองในบริบทของ อว. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.), มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) สามารถเข้าไปช่วยจัดการในแต่ละภูมิภาคนั้นได้หรือไม่ ส่วนเรื่อง lab ต้องดูว่าทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะเข้ามาช่วยตรงนี้ได้อย่างไร

          สำหรับเรื่องของหน้ากากอนามัย อยากให้มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สามารถนำเข้ามาได้หรือไม่อย่างไร หรือว่าสามารถผลิตในประเทศได้มากน้อยแค่ไหน และเรื่องของเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) กับเรื่องห้องแยกพิเศษ โจทย์คือ ในกรณีของห้องแยกพิเศษ ให้มหาวิทยาลัยในภูมิภาควิศวกรรมศาสตร์ กับ แพทยศาสตร์ร่วมมือ แต่ในกรุงเทพฯ เนื่องจากมีวิศวกรรมศาสตร์ ที่ไม่มีหมอ ไม่มีโรงเรียนแพทย์ ให้ทำในลักษณะที่เป็น prototype ขึ้นมา โดยที่ของบประมาณจากทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ เมื่อทำเสร็จ ให้มาดูในเรื่องของมาตรฐาน สิ่งสำคัญคือ เรื่องของเครื่องช่วยหายใจ (Ventilators) คงต้องร่วมมือกันในหลายส่วน ซึ่งจำเป็นจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชนด้วย

 426 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *