อว. จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการ

ดร.สุวิทย์ รมว.อว. แนะแนวคิด “ประเทศไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน”
(เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 วันนี้ (11 มีนาคม 2563) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 โดยมี นางสาวสุณีย์เลิศเพียรธรรม ผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดโครงการ ณห้องฝึกอบรมชั้น 5 ห้อง 519 อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติกรมวิทยาศาสตร์บริการ   

          ตามแผนปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561 – 2565) ประเด็นปฏิรูปที่ 2 ด้านการป้องปราม ได้กำหนดให้ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ดำเนินการวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการเป็นประจำทุกปี และรายงานผลการปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชาหรือตามระยะเวลาที่กำหนด และจากแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ อว. (พ.ศ. 2563 – 2565) ได้กำหนดให้การวางระบบประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตและประพฤติมิชอบ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย

ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) ในฐานะหน่วยงานขับเคลื่อนแผนด้านการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของอว. จึงได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 เพื่อให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯได้มีแนวทางในการวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2563 ไว้ใช้เป็นข้อมูลในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยการถ่ายทอดความรู้ฝึกปฏิบัติและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณฉวีวรรณนิลวงศ์และคณะวิทยากรจากสำนักงานป.ป.ท. มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ

นางสาวสุณีย์ผู้ช่วยปลัดกระทรวงฯกล่าวว่ากระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความสำคัญกับงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นอย่างมากซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบของอว. (พ.ศ. 2563 – 2565) ประกอบด้วย 3 ยุทธศาสตร์สำคัญได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างสังคมอว. ที่ไม่ทนต่อการทุจริต ยุทธศาสตร์ที่ 2 : สกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบาย ยุทธศาสตร์ที่ 3 : พัฒนาระบบป้องกันการทุจริตเชิงรุก

การวางระบบการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการนั้นถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยผลักดันแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบของกระทรวงฯให้ประสบความสำเร็จเนื่องจากการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตประพฤติมิชอบในส่วนราชการจะช่วยเป็นหลักประกันในระดับหนึ่งได้ว่าการดำเนินงานขององค์กรจะไม่มีการทุจริตหรือในกรณีที่พบกับการทุจริตที่ไม่คาดคิดโอกาสที่จะประสบกับปัญหาจะน้อยกว่าหน่วยงานอื่นหรือหากเกิดความเสียหายขึ้นก็จะเป็นความเสียหายที่น้อยกว่าหน่วยงานที่ไม่มีการนำเครื่องมือประเมินความเสี่ยงการทุจริตมาใช้เพราะได้มีการเตรียมป้องกันล่วงหน้าไว้โดยให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานประจำซึ่งไม่ใช่การเพิ่มภาระงานแต่อย่างใด

 869 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *