รมว.อว. เชิญปลัด 5 กระทรวง หารือเรื่อง “การบูรณาการบัณฑิตอาสา”

ปลัด อว. เปิดโครงการปฐมนิเทศ ข้าราชการและบุคลากรใหม่ ของ สป.อว. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง อว. ตรวจราชการ ปส. ประจำปีงบประมาณ 2563

25 กุมภาพันธ์ 2563 ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เข้าหารือเรื่อง การบูรณาการบัณฑิตอาสา กับปลัด 5 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย  กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ ห้องประชุม 404 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา

ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า “โครงการยุวชนสร้างชาติเป็นนโยบายของท่านนายกรัฐมนตรี จะเป็นตัวแปรการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสังคมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพให้กับนิสิต นักศึกษาและเยาวชน เป็นพลังสำคัญที่จะกำหนดอนาคตของประเทศ เราแปลงออกมาเป็น 3 มิติด้วยกัน 1.)เยาวชนมีความสามารถที่จะสร้างในเรื่องของ Start Up 2.)เยาวชนมีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาสังคมและชุมชน 3.)เยาวชนมีความคิดความอ่านที่สามารถเข้ามาช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศ ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ แทนที่จะมองว่าเยวชนจะต้องเรียนรู้แต่เพียงในห้องเรียน ก็ไปเรียนรู้ในโลกของความเป็นจริง เป็นที่มาของ 3 โครงการสำคัญที่เป็นรูปธรรม 1.)กองทุนยุวสตาร์ทอัพ ส่งเสริมเยาวชนที่มีความคิดอ่านไม่ว่าทางด้านของธุรกิจ สังคม หรือมีไอเดียที่ดี สามารถใช้กองทุนนี้ในการสนับสนุน 2.)ยุวชนอาสา เยาวชนเรียนรู้และร่วมพัฒนาชนบทในพื้นที่จริงเป็นเวลาหนึ่งเทอมไม่ใช่แค่การออกค่าย 3.)บัณฑิตอาสา บัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 3 – 5 ปี ชักชวนให้เข้ามาทำงานในชุมชนร่วมกับภาครัฐเพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศ บัณฑิตอาสาสามารถสร้างรายได้จากการเข้าไปทำงานในชุมชนท้องถิ่น ขั้นต่ำที่ 15,000 บาท โดยจะมีการฝึกอบรมในเรื่องที่จำเป็นให้กับบัณฑิตอาสา เป็นโครงการที่มองว่าเยาวชนได้เรียนรู้จากความเป็นจริง สถานที่จริงและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง อีกด้านหนึ่ง ชุมชนยังได้รับการพัฒนาร่วมด้วยจากแนวทางที่ยั่งยืนขึ้น โครงการยุวชนสร้างชาติเป็นการบูรณาการของทุกหน่วยงานที่ลงไปในชุมชน มีโจทย์ที่ชัดเจนสามารถเพิ่มศักยภาพขึ้นมา ปฏิรูประบบการเรียนการศึกษาให้สามารถทำงานได้จริง ถ้านักศึกษาเห็นโอกาสจากการมาฝึกงานในยุวชนอาสา หรือมาทำงานในบัณฑิตอาสา ก็สามารถที่จะตั้งตัวได้โดยผ่านกองทุนยุวสตาร์ทอัพ”

ด้าน ศ.ดร. ศุภชัย รองปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า “การดำเนินการจำเป็นจะต้องมีหน่วยงานที่ลงไปตามพื้นที่ซึ่งจะต้องทำงานร่วมกัน เป็นหน่วยงานที่จะเข้าไปดูแลในเรื่องของบัณฑิตอาสา มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีประสบการณ์หรือมีโครงการร่วมกับชุมชน กระทรวง อว. สามารถเชื่อมการทำงานร่วมกันกับกระทรวงต่างๆ ที่มีโครงการอยู่ในพื้นที่ชุมชนเมือง หรือในชนบท โดยกระทรวง อว. จะเป็นหน่วยที่จะสนับสนุนในเรื่องของการจัดหาบัณฑิต หรือนักศึกษาตามความต้องการของกระทรวง โดยงบประมาณของการสนับสนุนบัณฑิตในเรื่องต่างๆ จะเป็นส่วนที่กระทรวง อว. รับผิดชอบ เพื่อให้เยาวชนเข้าไปทำงานร่วมกันกับกระทรวงต่างๆ ในการจัดทำโครงการจะต้องมีการจัดทำแผนดำเนินการร่วมกัน ถ้าทางกระทรวงมีโครงการอยู่แล้ว และต้องการที่จัดใช้บัณฑิตหรือยุวชนอาสา ทาง อว. ก็จะสามารถที่จะกำหนดแผนดำเนินการของการใช้บัณฑิตได้ โดยบัณฑิตที่จะเข้าไปทำงานตามโครงการได้จะต้องผ่านการพัฒนาศักยภาพอยู่ 2 แบบ 1.)พัฒนา Skill พื้นฐาน เช่น Financial literacy, Digital literacy ทาง อว. จะพัฒนาในด้านนี้ 2.)การพัฒนาอีกด้านจะเป็นส่วนของทางกระทรวงนั้นๆร่วมดำเนินการหรืออบรมเอง เช่น ด้านการเกษตรจะเป็นเรื่องของ Smart Farmer หรือทางด้านของ GISTDA จะเป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นต้น”

 632 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *