วว. /พันธมิตร ลงพื้นที่วิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สร้างโอกาสให้เกษตรกร ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์

ดร.สุวิทย์ เปิดการประชุมวิชาการเพื่อส่งเสริมการจัดสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน
ดร.สุวิทย์ ชี้ อว. ซักซ้อมเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะผู้แทน วว. เป็นประธานเปิดโครงการอบรมสัมมนาการวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมภาคเหนือ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีพร้อมใช้สู่ชุมชนและขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อที่จะสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งผลต่อการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่สูงขึ้น เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

          ในโอกาสนี้ วว. นำ 15 นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีข้าว ปุ๋ย พลังงาน ระบบการควบคุมอัตโนมัติและเครื่องจักรแปรรูปอาหาร รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ผลงานวิจัยและพัฒนาของ วว. จัดแสดงนิทรรศการพร้อมโชว์สาธิตการทำงาน อาทิ การเพิ่มคุณภาพผลผลิตส้มเกลี้ยง ชาเลือดมังกร เครื่องสลัดน้ำมัน เครื่องบดแป้งกล้วย

– การยืดอายุไข่เค็ม  โดยการฆ่าเชื้อดินจอมปลวก ช่วยลดการเกิดเชื้อราบนเปลือกไข่เค็ม

– เครื่องหยอดข้าวนาน้ำตม ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืน ลดต้นทุน ลดแรงงาน ลดขั้นตอน และเป็นภูมิปัญหาท้องถิ่นของชาวนาไทย

– เครื่องสไลด์กล้วย  ช่วยลดเวลาในการสไลด์และทอดกล้วย เตากระจายความร้อนได้สม่ำเสมอ กำลังการผลิต 50 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

– เครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดกาแฟ ลดเวลา ลดการใช้แรงงาน กำลังการผลิต 100 กิโลกรัมต่อชั่วโมง

– เครื่องทำแท่งเพาะชำจากมูลไส้เดือน ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดแรงงาน มีกำลังการผลิต 10 ชิ้นต่อชั่วโมง หรือวันละ 80 ชิ้น

– เตาเผาถ่านกัมมันต์  มีคุณภาพสูง ขี้เถ้าน้อย ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

– โดมอบพลังงานแสงอาทิตย์  ช่วยลดต้นทุนการผลิต ประหยัดพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาดให้กับเกษตรกร

– ระบบให้น้ำในดรงเรือนเพาะปลูกอัตโนมัติ ช่วยทุ่นแรง มีชุดพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อจ่ายไฟให้ระบบ ปรับใช้กับพืชหมุนเวียนชิดอื่นๆได้

 เพื่อเชื่อมโยงผลงานวิจัยดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนความรู้และความต้องการนวัตกรรมในชุมชนระหว่างนักวิจัย วว.และกลุ่มเป้าหมายคือ พี่น้องเกษตรกร ผู้นำชุมชน วิสาหกิจชุมชน ที่เข้าร่วมกิจกรรม ผ่านเครือข่ายความร่วมมือและพันธมิตร จากการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 นวัตกรรมเกษตร โครงการยกระดับโอทอปในพื้นที่ 10 จังหวัดยากจน โครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาของชุมชนของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และจะส่งเสริมให้ประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตสำคัญของผลิตผลเกษตรของโลกต่อไป

          “…วว. ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีพร้อมใช้ถ่ายทอดสู่ชุมชน โดยมุ่งหวังเพื่อสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้เข้าถึงบริการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งบริการวิเคราะห์/ทดสอบ สอบเทียบ การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ …” ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ กล่าว

 631 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *