เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศึกษา จัดกิจกรรมศึกษาดูงานฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ ของบริษัทสยามคูโบต้า ฟาร์มนำร่องการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี

รัฐมนตรีสุวิทย์ เน้นใช้ BCG MODEL เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
ส่งท้าย…นิทรรศการ “บทเรียนในความมืด : DIALOGUE IN THE DARK” พร้อมรับของที่ระลึกสุดพิเศษ! ชวนกันมาสัมผัสประสบการณ์สุดประทับใจครั้งสุดท้าย

ฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ ของบริษัทสยามคูโบต้า
ฟาร์มนำร่องการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ นวัตกรรมเกษตรแบบครบวงจร ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มีพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ ใช้งบลงทุนไปแล้ว 30 ล้านบาท เปิดเป็นทางการภายในเดือนสิงหาคม 2563 หวังขายโซลูชั่นพร้อมเครื่องจักรกลการเกษตร สร้างรายได้ปี 2563 หวังเป็นฟาร์มครบวงจรแห่งแรกของอาเซียนใช้แนวคิดการเกษตรสมัยใหม่แบบครบวงจร เริ่มจากการจัดการอากาศ Weather station สถานีวัดอากาศ, การจัดการดิน Soil sensor เซนเซอร์วัดคุณภาพดิน, Farm IoT Dashboard ระบบการจัดการฟาร์มด้วย IoT, KUBOTA Agri Solutions (KAS) Application การทำเกษตรแม่นยำด้วยแอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solutions, Fruit Selector เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยเครื่องตรวจวัดความหวาน, Dryer & Milling การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว, Seeding Machine ซึ่งลักษณะพื้นที่จะเป็นดินทราย พื้นที่จุดสูงสุดเน้นปลูกพืชไร่ พืชสวน พื้นที่ลุ่มจะเน้นทำนา และพื้นที่ต่ำจะขุดบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ มีการปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของขอบบ่อ นอกจากนี้ โดยมีการวิจัยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วย ได้แก่
• ระบบจัดการน้ำของฟาร์มใช้เทคโนโลยีของสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) (สสน.)
• คูโบต้ายังร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) พัฒนาแอปพลิเคชันปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution ภายใต้ชื่อ “KAS Crop Calendar Application”
• สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) GISTDA ทดสอบประสิทธิภาพความแม่นยำขั้นสูงของระบบเครือข่ายเสารับสัญญาณมาตรฐาน (Base Station) โดยใช้เทคโนโลยีดาวเทียมนำทาง GNSS ในเครื่องจักรกลการเกษตรของไทย
• ปรับปรุงดินโดยร่วมมือกับกรมพัฒนาที่ดิน ใส่อินทรีย์วัตถุในดิน ปลูกพืชประเภทถั่ว ปอเทือง สลับกันไป ใช้เวลาปรับปรุงดิน 6 เดือน
• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สถาบันการศึกษา ฯลฯ
โครงสร้าง ฟาร์มต้นแบบทางผู้จัดทำแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 9 โซน สำหรับเฟสแรกจะเปิดเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรสมัยใหม่จำนวน 4 โซน ได้แก่

1. โซนเกษตรครบวงจร ออกแบบและการบริหารจัดการแปลงปลูกข้าว โดยใช้เทคนิคปฏิทินการปลูกข้าว และใช้เครื่องจักรกลการเกษตรที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตควบคู่กันไป
2. โซนเกษตรแม่นยำ ทำน้อยแต่ได้มาก นำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรแม่นยำหรือ Precision Farming ซึ่งเป็นการทำเกษตรแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เช่น “โดรน” สำหรับบินสำรวจพื้นที่ ตรวจสภาพดินเพื่อเลือกปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ควบคุมการใส่ปุ๋ย และฉีดยาฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยว รถแทรกเตอร์ที่ควบคุมทิศทางด้วยดาวเทียม เครื่องวิเคราะห์ความต้องการอาหาร พืช เทคโนโลยีตรวจอากาศและสภาพดิน เป็นต้น
3. โซนการทำเกษตรให้มีรายได้สูงสุด โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา “เกษตรทฤษฎีใหม่” การเกษตรแบบผสมผสานมาใช้บริหารจัดการแปลงเพาะปลูก ประกอบด้วย บ่อน้ำประจำไร่นา ทำนา ปลูกไผ่ ข้าวโพดอ่อน ไม้ผล และปลูกพืชผักแบบหมุนเวียนบนพื้นที่ทำกิน จำนวน 10-15 ไร่ เพื่อให้เกิดรายได้มากที่สุด เน้นการปลูกแบบอินทรีย์ ใช้สารชีวภัณฑ์แทนการใช้สารเคมี มีการปลูกพืชแซมระหว่างผลไม้ ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างวิจัยร่วมกับ ม.แม่โจ้ ในการปลูกผักให้อร่อย ผักไม่ขม คำนวณระยะเวลาในการเก็บผลผลิตไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป เป็นต้น
4. โซนเกษตรสมัยใหม่สำหรับพืชไร่ ประเภทมันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นโซนที่มีการนำเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่การออกแบบและจัดการแปลงเพาะปลูกพืชด้วยเครื่องจักรกลการเกษตรแบบครบวงจร ใช้หลักการระเบิดดินดานเพื่อสำหรับขุดฝังท่อกักเก็บน้ำ เพิ่มความชื้นใต้ชั้นผิวดินโดยมีเครื่องจักรที่ใช้ในระบบการจัดการฟาร์มแบบครบวงจร ได้แก่ รถแทรกเตอร์ติดตั้งระบบ คูโบต้า นวัตกรรมอัจฉริยะ KIS (KUBOTA Intelligence Solutions), เครื่องหยอดข้าว,
รถขุดดิน, รถแทรกเตอร์เทคโนโลยีไร้คนขับ, แทรกเตอร์รถเกี่ยวข้าว นวดข้าว, เครื่องหยอดเมล็ดแม่นยำสูง,เครื่องปลูกผัก และเทคโนโลยีเพาะปลูกพืชในโรงเรือน

ภาพฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ ของบริษัทสยามคูโบต้า

ภาพผู้ประกอบการไปดูงานฟาร์มต้นแบบเกษตรสมัยใหม่ ชองบริษัทสยามคูโบต้า

 148,992 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *