อพวช. เปิดคลังตัวอย่างมดที่ใหญ่ที่สุดในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมการประชุมมดโลก ครั้งที่ 12

🎉🎉 เด็กไทยสุดเจ๋ง‼️ คว้าแชมป์โลก ในการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ 2562 ณ ประเทศฮังการี
นายจำลอง ผู้ช่วย รมว.อว. เปิดงานแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ “2019 WORLD CULTURE FESTIVAL”

  เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1562 เวลา 10.00 น./ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ให้การต้อนรับคณะนักวิชาการและผู้เข้าร่วมการประชุมมดโลก ครั้งที่ 12 ในการเดินทางเข้ายี่ยมชมคลังตัวอย่างมดที่ใหญ่และดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. พร้อมเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า (เป็นการเฉพาะกิจ) แหล่งเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมแห่งใหม่ของประเทศที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอาเซียน บนเนื้อที่ 42 ไร่ มีกำหนดเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบในเดือนปลาย ธ.ค. 2562 ณ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี

          ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)
กล่าวว่า การประชุมมดโลกเป็นการประชุมที่จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยเครือข่ายการศึกษามดหรือเรียกย่อว่า ANeT ในปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมมดโลก ครั้งที่ 12 ระหว่างวันที่ 11 – 15 พฤศจิกายน 2562 ณ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยความร่วมมือของ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และสมาคมผู้ประกอบการกำจัดแมลง เพื่อต้องการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกเครือข่ายฯ จากประเทศไทยและนักวิจัยมดต่าง ๆ จากทั่วโลก และ
พัฒนาศาสตร์ด้านมดให้ก้าวหน้าและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างแท้จริง อาทิ การควบคุมสัตว์รบกวน (Pest Control) พร้อมทั้งสร้างความร่วมมืออันดีในการวิจัยระดับนานาชาติระหว่างสมาชิกเครือข่ายฯ และนักวิจัยกลุ่มอื่น ๆ อีกด้วย

ในส่วนของ อพวช. เราให้ความสำคัญการศึกษาด้านความหลากหลายทางชีวภาพในด้านต่างๆ
ทั้งการศึกษาวิจัย การสำรวจ และเก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิง โดยเราคาดหวังว่า พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. จะเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัย รวบรวมวัสดุอุเทศ เผยแพร่ความรู้ และจัดแสดงนิทรรศ
การด้านธรรมชาติวิทยาของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักวิชาการ และนักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจ และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนุกรมวิธาน และ
สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ต่อไปในอนาคต

 1,790 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *