“สป.อว.จับมือ สวทช. และสมาคมเครื่องจักรกลไทย วิจัยพัฒนา หุ่นยนต์เอไอ และ หนูนา หุ่นยนต์ทำนา”

สป.อว พร้อม สถาบันไทย – เยอรมัน ส่งมอบเครื่องผลิตเส้นด้ายจากพืชเส้นใยยาว พัฒนาโดย นายสมนึก วันละ มหาวิทยาลัยเทคนิคแพร่ ภายใต้การขยายผลโครงการพัฒนาต้นแบบเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เพื่อการผลิตระดับชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
สป.อว พร้อมกับ TGI ส่งมอบเครื่องอบแห้งผลไม้ระบบแช่เยือกแข็ง วิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 23 สิงหาคม 2565 เจ้าหน้าที่กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) ร่วมกันแถลงข่าวการพัฒนา หุ่นยนต์เอไอ และหนูนา หุ่นยนต์ทำนา ซึ่งพัฒนาโดย บริษัท ที.ซี.เวลดิ้งออโตเมชั่น จำกัด ซึ่งเป็นการสนับสนุนงบประมาณภายใต้โครงการพัฒนาสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

หุ่นยนต์เอไอ เป็นหุ่นยนต์ที่มีระบบเซ็นเซอร์สามารถมองเห็นแนวเชื่อม และปรับระยะหัวเชื่อมให้ตรงแนวเชื่อมแบบอัตโนมัติได้หุ่นยนต์ AI เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบปฏิบัติการ 2 ส่วนคือ ระบบปฎิบัติการควบคุมหุ่นยนต์ และระบบปฏิบัติการควบคุมเซนเซอร์ โดย 2 ระบบนี้ทำงานเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างกัน โดยสามารถเพิ่มความเร็วในการทำงานได้มากขึ้น ประมาณ 20% ความละเอียดการตรวจสอบอยู่ที่ระยะ 0.1 มิลลิเมตร และระยะตรวจสอบอยู่ที่ 400 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอุปกรณ์การตรวจวัด

หนูนา หุ่นยนต์ทำนา สามารถทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ แบบไร้คนขับ ควบคุมการสั่งงานด้วยระบบหุ่นยนต์ สามารถกำหนดเส้นทางเดินอัตโนมัติ ด้วยระบบ Mapping GPS และระบบ RTK (คลาดเคลื่อน 2 เซนติเมตร) ซึ่งมาพร้อมระบบความปลอดภัยป้องกันการชนด้วยระบบ Lider เชื่อมต่อระบบ IoT สามารถเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ การสั่งงานสามารถสั่งได้ 2 รูปแบบคือ 1) ระบบรีโมทไร้สาย 2) ระบบบังคับที่ตัวหุ่นยนต์ ส่วนด้านการใช้ต้นกำลัง มาจากเครื่องยนต์คูโบต้า 34 แรงม้า ขับเคลื่อน 4 ล้อ อัตราสิ้นเปลือง 5 ลิตร ต่อไร่ ในอนาคตผู้พัฒนาได้เล็งเห็นการนำไฟฟ้ามาใช้เป็นต้นกำลังแทนเครื่องยนต์ ซึ่งมีความจุแบตเตอรี่ 100 แอมป์ สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้อย่างสะดวกและคล่องตัว ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่ 3-4 ชั่วโมง สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากเดิม ประมาณ 5 เท่า จากที่สังเกตการทำงานของหุ่นยนต์หนูนาพบว่า เดินตามเส้นทางได้อย่างแม่นยำตามเส้นทางที่กำหนดได้

พัฒนาโดย
นายราชันท์ ฟักเมฆ
บริษัท ที.ซี.เวลดิ้งออโตเมชั่น จำกัด

#สํานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
#บริษัท ที.ซี.เวลดิ้งออโตเมชั่น จำกัด


 2,806 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *