มทร.ธัญบุรี จับมือ – ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สร้างนวัตกรรมตรวจสอบสาธารณูปโภคใต้ดินกึ่งอัตโนมัติ ชี้ “ปลอดภัย ประหยัดแรงงานคนและเวลา”

เข้าร่วมพิธีเปิด งานสัมมนาแผนงานการพัฒนาพริกไทยสุไหงอุเป และผ้าบาติก เพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์เฉพาะถิ่นของจังหวัดสตูล สร้างมาตรฐานจำเพาะที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ที่สื่อถึงสมบัติด้านคุณภาพให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ลงพื้นที่ติดตามผลการพัฒนาเครื่องอัดดินและปลูกผักอินทรีย์ในท่อ PVC

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี – สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม – ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เผยความสำเร็จ “การพัฒนาสร้างนวัตกรรมระบบตรวจสอบสาธารณูปโภคใต้ดินกึ่งอัตโนมัติเพื่อการขุดเจาะใต้ดินแบบดันท่อ” ในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2563 พร้อมด้วยผู้ประกอบการที่นำผลงานดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ ณ สำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ธัญบุรี

รศ.ดร.สรพงษ์ ภวสุปรีย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า มทร.ธัญบุรี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณการวิจัย เรื่อง โครงการพัฒนาสร้างนวัตกรรมระบบตรวจสอบสาธารณูปโภคใต้ดินกึ่งอัตโนมัติเพื่อการขุดเจาะใต้ดินแบบดันท่อ ภายใต้การสนับสนุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในโครงการสร้างเครื่องจักรต้นแบบด้วยกระบวนการวิศวกรรมเพื่อการสร้างสรรค์คุณค่า ประจำปีงบประมาณ 2563 จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยมี

รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลาง คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ และมีผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการและนำไปใช้ประโยชน์จริงคือ บริษัท เอ็นอาร์ที เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด โดยนายนิรุตติ นิลแก้ว กรรมผู้จัดการ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า การใช้งานการขุดเจาะใต้ดินด้วยวิธีการดันท่อ (Pipe Jacking) ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ และใน กทม. ก็ได้นำมาใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากงานดันท่อเป็นงานมีผลกระทบต่อการจารจรและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างน้อย แต่ปัญหาหนึ่งในระบบ Pipe Jacking คือการกีดขวางการขุดเจาะของสาธารณูปโภคที่อยู่ใต้ดินก่อนหน้านี้ ซึ่งการขุดเจาะจะต้องไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อระบบใต้ดินที่มีอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นการสำรวจ พื้นที่ก่อนการขุดเจาะ จึงเป็นสิ่งจำเป็น แต่ปัจจุบันนี้ การสำรวจพื้นที่และสาธารณูปโภคใต้ดินก่อนการขุดเจาะจะกระทำด้วยคน โดยแรงงานคนเจาะลงจนพบสาธารณูปโภคใต้ดินในระดับความลึกต่าง ๆ แล้วจึงมาวางแผนออกแบบการเจาะ ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อระบบใต้ดินที่มีอยู่ อย่างไรก็ดีโดยปกติแล้ว

ในการสำรวจสาธารณูปโภคใต้ดินนั้นจะมีเครื่องสำรวจอยู่ในตลาดแล้ว แต่มีราคาแพง และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และจากการใช้งานบางครั้งพบว่ายังมีข้อผิดพลาดอยู่บ้าง ทั้งยังต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ จึงยังคงใช้วิธีขุดเจาะสำรวจอยู่ ซึ่งเสียเวลามากดังนั้น เราจึงพัฒนาสร้างนวัตกรรมระบบตรวจสอบสาธารณูปโภคใต้ดินกึ่งอัตโนมัติเพื่อการขุดเจาะใต้ดินแบบดันท่อ ซึ่งส่งเสริมมีความปลอดภัย ประหยัดแรงงานและประหยัดเวลา ทำให้ระบบงานดันท่อนี้พัฒนาไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของเมือง เพราะเป็นวิธีที่มีผลกระทบต่อการจราจรและสิ่งแวดล้อมน้อยมาก และการเดินท่อ (Pipe Jacking) มีความแม่นยำมากขึ้น โดยเครื่องดังกล่าวจะเป็นต้นแบบเครื่องแรก และยังไม่เคยมีใช้มาก่อน

ด้าน รศ.ดร.บุญยัง ปลั่งกลาง หัวหน้าโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำเร็จของโครงการฯ สามารถพัฒนาเครื่องสำรวจตำแหน่งความลึกสาธารณูปโภคเพื่อขุดเจาะใต้ดิน ที่ทำงานด้วยระบบแรงดันน้ำสูง ซึ่งมีรูปแบบที่เหมาะสม มีระบบควบคุมแบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถควบคุมทิศทางและสามารถใช้กับสาธารณูปโภคได้ทุกรูปแบบ ลดข้อจำกัดต่าง ๆ ได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเครื่องสำรวจตำแหน่งความลึกสาธารณูปโภคเพื่อการขุดเจาะระบบไฟฟ้าใต้ดิน คุณสมบัติจุดเด่นหรือข้อได้เปรียบก็คือใช้สำรวจตำแหน่งความลึกสาธารณูปโภคใต้ดินได้ทุกรูปแบบ และไม่ต้องใช้แรงงานในการตอกเหล็กในการหาความลึก ตรวจสอบตำแหน่งสาธารณูปโภคได้อย่างแม่นยำ และรวดเร็วกว่าใช้แรงงานคน ซึ่งเป็นแบบที่เหมาะสมมากที่สุดและรองรับการใช้งานในเมืองใหญ่ อีกทั้งขนย้ายได้สะดวก ปลอดภัยทั้งนี้ ได้มีการทดสอบการทำงานจริงชุดนวัตกรรมระบบตรวจสอบสาธารณูปโภคใต้ดินกึ่งอัตโนมัติ และมีผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการฯ และนำไปใช้ประโยชน์จริงคือ บริษัท เอ็นอาร์ที เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งจากผลตอบรับในภาพรวมพบว่า มีความปลอดภัย ประหยัดทั้งแรงงานคนและเวลาในการปฏิบัติงาน.

 791 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *