19 ตุลาคม ของทุกปีเป็นวันเทคโนโลยีของไทย

อว. – จุฬา จับมือร่วมพัฒนาสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่สังคมไทย
Youth_Volunteer2564

[วันเทคโนโลยีของไทยตรงกับวันที่ 19 ตุลาคม เป็นวันเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ในฐานะที่ทรงเป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” โดยในทุกๆ ปี นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2544 เป็นต้นมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (เดิม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดงานวันเทคโนโลยีของไทยและกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย

19 ตุลาคม .. 2515 คือ จุดเริ่มต้นประวัติศาสตร์สำคัญจากการศึกษาและค้นพบวิธีการทำฝนเทียมสูตรใหม่ของประเทศไทย เมื่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงควบคุมบัญชาการและอำนวยการสาธิตฝนเทียมสูตรใหม่เป็นครั้งแรกของโลก  เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้สนามบินบ่อฝ้าย.หัวหิน .ประจวบคีรีขันธ์ เป็นฐานปฏิบัติการ และประสบความสำเร็จฝนตกตามเป้าหมายอย่างแม่นยำ สร้างความประทับใจและยินดีแก่คณะผู้แทนรัฐบาลสิงค์โปร์ และผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ในวันนั้นเป็นอย่างยิ่ง

เพื่อเทิดพระเกียรติในพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พุทธศักราช 2543 ได้มีมติให้ความเห็นชอบพระราชทานพระบรมราชานุญาตเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็น “พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทย” และให้วันที่ 19 ตุลาคมของทุกปีเป็น “วันเทคโนโลยีของไทย

ตลอดระยะเวลาที่พระองค์ทรงงานและทรงศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ก่อกำเนิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เป็นประโยชน์แก่พสกนิกรและประเทศชาติมากมาย อาทิ โครงการแกล้งดิน:เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาดินเปรี้ยว โครงการหญ้าแฝกเทคโนโลยีป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน โครงการแหลมผักเบี้ย : เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา : เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย โครงการคลองลัดโพธิ์เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงนำความรู้ทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกสาขามาปรับใช้ในการพัฒนา ทรงมุ่งให้เกิดการพัฒนาคนให้สามารถอยู่ได้ด้วยการพึ่งตนเองเป็นสำคัญ ดังนั้น ทุกๆ โครงการที่มีพระราชดำริและพระราชทานให้แก่ประชาชน ล้วนมีวิธีดำเนินการได้ไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน สอดคล้องกับระบบนิเวศโดยรวมของธรรมชาติและสภาพสังคมของชุมชนนั้นๆ โดยไม่ทรงปิดกั้นเทคโนโลยีใหม่ๆ จากต่างประเทศ แต่ทรงเน้นว่าจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์มาปรับปรุงใช้ได้ดีพอเหมาะกับสภาพและฐานะของประเทศ ให้เกิดประสิทธิภาพ ประหยัดและช่วยทุ่นแรงงาน

อ้างอิง : http://huahin.royalrain.go.th/technologythaiday.php

 113,629 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *