ดร.สุวิทย์ เปิดโอกาสหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับเครือข่ายนิสิต นักศึกษา เคียงข้างประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ประกวดสุดยอดนวัตกรรมทรงเกียรติระดับประเทศ “นวัตกรรมการจัดการพลาสติกเพื่อความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมและทะเลไทย”
13 พันธมิตร จับมือเดินหน้าพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECI) มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมด้วยนวัตกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและอนุรักษ์พลังงานด้วยแพลตฟอร์ม IDA ช่วยเหลือ SME ไทยหลังโควิด-19

วันนี้ (19 มิถุนายน 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เปิดโอกาสประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับเครือข่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา เคียงข้างประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พร้อมด้วย นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการ รมว.อว., รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวง อว., ศ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัย (วช.) และคณะทำงาน รมว.อว. โดยมีผู้แทนกลุ่มนิสิต นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมหารือดังนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, มหาวิทยาลัยมหิดล, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, มหาวิทยาลัยชินวัตร, มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ ห้องประชุม 18 A ชั้น 18 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 1 (ถนนศรีอยุธยา)

 ด้าน นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย ได้ชี้แจงถึงประเด็นปัญหาของการเรียนการสอนในช่วงวิกฤติโควิด พร้อม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ดังนี้

1. ต้องการให้มหาวิทยาลัยออกประกาศชี้แจงให้ชัดเจนในเรื่องของการเรียนการสอน ว่าจะดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางใด

2. เรื่องของการเรียนผ่านออนไลน์ ยังคงพบปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน อาทิ คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ เป็นต้น รวมไปถึงเรื่องของค่าใช้จ่ายสำหรับอินเทอร์เน็ตที่ต้องใช้ในการเรียน หรือแม้กระทั่งเรื่องของสัญญาณอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ

3. สำหรับนักศึกษาที่มีวิชาเรียนแบบภาคปฏิบัติ มากกว่าการเรียนแบบทฤษฎี จึงเสนอให้ร่วมกันหาวิธีแก้ไขในเรื่องนี้ เนื่องจากการเรียนทางทฤษฎีกับการลงมือปฏิบัติจริงนั้น จะทำให้มีความเรียนรู้และเข้าใจที่แตกต่างกัน

4. นักศึกษามีความคิดเห็นว่า ไม่ควรให้เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบของออนไลน์ตลอดไป เนื่องจากการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกัน การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งของคณะหรือของมหาวิทยาลัยก็ตาม ถือเป็นประสบการณ์และการเรียนรู้ของนักศึกษาในการเข้าสังคม ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่วัยทำงาน

5. นักศึกษาให้ความเห็นว่าการเรียนในปัจจุบัน ควรเป็นในรูปแบบของ Life Long Learning เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของตลาดแรงงาน

6. อยากให้มีการผลักดันในเรื่องของการเรียนในรูป Pre-degree ซึ่งเป็นการเรียนรายกระบวนวิชาเก็บหน่วยกิตที่ได้สะสมไว้เทียบโอน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทำให้น้อง ๆ สามารถเรียนจบปริญญาตรีได้เร็วยิ่งขึ้น

ด้าน ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า สำหรับเรื่องเหล่านี้ได้เคยมีการหารือกับทางที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ไปบ้างแล้วในบางส่วน ต้องทำความเข้าใจว่าปัญหาเรื่องวิกฤติโควิดนั้น เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ดังนั้นทางกระทรวง อว. จึงพยายามหาวิธีการหรือมาตรการเพื่อรองรับกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด (1) เมื่อวิกฤติโควิดหมดไป และประเทศกลับเข้าสู่สภาวะปกตินั้น เรื่องของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ก็อาจจะคงอยู่ โดยเป็นไปในรูปแบบของบางวิชาที่สามารถเรียนผ่านออนไลน์ได้ ส่วนวิชาใดที่เป็นภาคปฏิบัติก็กลับมาปฏิบัติตามเดิม (2) ในส่วนของเรื่องการเจรจาต่อรองเรื่องการเรียนการสอนออนไลน์ที่ต้องมีค่าใช้จ่าย และอุปกรณ์นั้น ทางกระทรวง อว. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พยายามติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านนั้น ๆ เพื่อร่วมกันช่วยเหลือ ดูแลนักศึกษา (3) ทางกระทรวง อว. จะจัดประชุมหารือเกี่ยวประเด็นต่าง ๆ ในวันนี้อีกครั้ง โดยเชิญอธิการบดีจากภาคการอุดมศึกษาทั่วประเทศและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ เพื่อหาวิธีการดำเนินงานตามข้อคิดเห็น และข้อเสนอที่ได้รับมาในวันนี้ รวมทั้งเปิดเวทีให้นักศึกษาได้แสดงออกและให้ความเห็นในเรื่องต่าง ๆ อีกด้วย


 2,010 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *