ดร.สุวิทย์ ประชุมรับฟังการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานจัดสรรงบประมาณ STRATEGIC FUND ประจำปีงบประมาณ 2563

FACE SHIELD สำหรับบุคลากรการแพทย์
สดร. ชวนชมปรากฏการณ์ ดาวเคียงเดือน (ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์เคียงดวงจันทร์)

 (7 พฤษภาคม 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) พร้อมด้วย นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ,ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.), ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ,คณะผู้บริหาร อว. และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับ “การรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานจัดสรรงบประมาณ Strategic Fund ประจำปีงบประมาณ 2563” ผ่านระบบ VDO Conference – ZOOM Cloud Meetings ตามมาตรการ Social distancing ณ ห้องประชุม B ชั้น 18 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ถนนศรีอยุธยา)

โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหัวข้อเสนอต่อที่ประชุม ดังนี้

1. ความก้าวหน้าการจัดสรรงบประมาณ Strategic Fund ประจำปีงบประมาณ 2563

2. ผลผลิตสำคัญที่คาดว่าจะได้รับ

3. ผลการดำเนินงาน

 สำหรับความก้าวหน้าการจัดสรรงบประมาณ Strategic Fund ประจำปีงบประมาณ 2563 ในภาพรวม ซึ่งจำแนกตาม Platform, แผนงาน, แผนงานสำคัญ, PMU และความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท โดยเหตุการณ์ที่สำคัญในปี 2563 ได้แก่ เดือนกุมภาพันธ์ (1) กสว. อนุมัติแผนปฏิบัติการ Program Management Unit (PMU) ปีงบประมาณ 2563 (2) กสว. กำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินอุดหนุนของ PMU, เดือนมีนาคม 2563 (1) สกสว. รับงบประมาณจากกรมบัญชีกลาง (2) สกสว. ทำ MOA กับ PMU และหน่วยรับทุน, เดือนเมษายน 2563 (1) สกสว. เบิกจ่ายงบประมาณให้หน่วยรับทุน (2) สกสว. ปรับแผนและงบประมาณรองรับ COVID-19 ซึ่งงบประมาณดังกล่าวที่ได้รับมาถูกจัดสรรลงตามแผนงานสำคัญ (Flagship) 17 Program ตาม 4 Platform คือ 1.การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้, 2.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม, 3.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน, 4.การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ นอกเหนือจากนั้นยังรวมไปถึงการจัดการระบบ ววน. เพื่อรับมือกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส COVID-19 ในภาวะวิกฤตและหลังวิกฤตประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่

1. มิติวิทยาศาสตร์การแพทย์และการสาธารณะสุข หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณะสุข (สวรส.) และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

2. มิติของเศรษฐกิจและสังคม

3. มิติของการสื่อสารและการรับรู้

4. มิติของมาตรการและการเตรียมการทางด้าน Post crisis

โดย ผลของการดำเนินงานในการขับเคลื่อนแผนงานต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ ถือเป็นการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าเป็นไปในทิศทางที่ออกแบบร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานแต่ละหน่วยงาน สำหรับอุปสรรคจะมีติดขัดในเรื่องของการออกแบบระบบ การขาดกำลังคน การสื่อสาร คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และความท้าทายในการทำงานต่อไปคือ จะต้องทำงานให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ทันต่อระยะเวลาที่เหลือ, การพัฒนาระบบ NRIIS, การทบทวนผลกระทบของปีงบประมาณ 2563 ใหม่ เนื่องจากมีการปรับแผนงบประมาณหลังสถานการณ์ COVID-19 รวมถึง Feed forward ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณปี 2563 เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานให้ต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2564 รวมถึงวางแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565 ต่อไป

ดร.สุวิทย์ ได้ให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า สำหรับการประชุมในวันนี้ถือเป็นการซักซ้อมความเข้าใจ และทบทวนเรื่องต่าง ๆ เสียใหม่ เนื่องจากยังพบความบกพร่องในหลายส่วนงาน ซึ่งงบประมาณที่ได้รับมานั้นจะต้องนำมาทบทวนว่า ได้จัดสรรสำหรับการจัดทำโครงการที่ตอบโจทย์ตามที่เคยเสนอไว้หรือไม่ และจะต้องเร่งจัดสรรงบประมาณในส่วนที่ยังเหลือให้เป็นไปตามแผนงาน โครงการต่าง ๆ ที่ได้เสนอไว้ตั้งแต่ต้น และในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ผลการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวจะต้องคืบหน้าไม่น้องกว่า 80% อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังคงต้องมีการประชุมเพิ่มเติม เพื่อติดตามความคืบหน้าในครั้งต่อไปแน่นอน

 97,436 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *