สกสว.ชู ‘ดิจิทัลแทร็คกิ้ง’ แยกกลุ่มเสี่ยง

ดร.สุวิทย์ ชี้โลกเปลี่ยน คนปรับ และการใช้ชีวิตหลังวิกฤตโควิด-19 อย่างเป็นปกติสุข
ทีเซลส์ร่วมกับศิริราชและหน่วยงานพันธมิตร นำร่องแจกหน้ากาก “WIN-Masks” ป้องกันโควิด-19

สำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ฯ ​ถอดบทเรียน “ดิจิทัล แทร็คกิ้ง” แอพพลิเคชันแยกกลุ่มเสี่ยงติดโควิด ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดระบุช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการคัดแยกเสี่ยงติดโควิดดีกว่าวิธีปกติ 50%

จากสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาครัฐมีมาตรการการติดตามหลังพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น เช่น สอบถามประวัติการเดินทาง การพักอาศัย การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ แต่การติดตามในลักษณะดังกล่าวยังเป็นการติดตามที่ค่อนข้างยากและใช้เวลานาน ส่งผลให้การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อเป็นไปได้ยาก

โครงการ “สนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยข้อมูลว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ศึกษาโอกาสของการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 จากการเก็บข้อมูลผู้แพร่เชื้อและผู้ได้รับเชื้อไวรัส จำนวน 40 คู่ พบว่า ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน หรือ R0 ที่เกิดขึ้นจากการแพร่เชื้อจากผู้ไม่แสดงอาการสูงถึง 0.9 จึงศึกษาความจำเป็นของการใช้ “Digital tracing” ระบบติดตามผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วยทันที พบว่า ในระยะเวลา 3 วันที่ติดตามเพื่อกักและโอกาสการควบคุมโรคแบบธรรมดา สำเร็จน้อยกว่าการใช้ระบบดิจิทัลแทร็คกิ้งช่วยถึง 50 %

การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสืบหาผู้ที่สัมผัสใกล้ชิด (Contact tracing) จึงเป็นที่ต้องการอย่างมาก ปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้อยู่ 2 แอพพลิเคชั่น คือ Pan-European Privacy Preserving Proximity Tracing (PEPP-PT) ของกลุ่มประเทศยุโรป และ Trace Together ของประเทศสิงคโปร์ ทั้งสองรูปแบบแตกต่างในรายละเอียดแต่ใช้หลักการเดียวกัน คือ 1.ใช้สัญญาณบลูทูธบนโทรศัพท์มือถือในการตรวจหาว่าใครอยู่ในรัศมี 2-10 เมตร ในระยะเวลาที่กำหนด 2.ทำการบันทึกรหัสประจำตัวของคนที่อยู่ใกล้ ไม่บันทึกชื่อจริง ไม่เก็บตำแหน่งบุคคล และทำการบันทึกข้อมูลไว้ที่โทรศัพท์มือถือของแต่ละคน 3.เมื่อระบบส่วนกลางพบว่ามีผู้ป่วย เจ้าหน้าที่จะติดต่อไปที่ผู้ป่วย ผู้ป่วยส่งข้อมูลในมือถือของตนไปยังส่วนกลาง โดยผู้ป่วยต้องยินยอมเปิดเผยข้อมูล

ทีมวิจัย สกสว. วิเคราะห์ว่า สำหรับในไทย การพัฒนาแอพพลิเคชั่นดิจิทัลแทร็คกิ้งน่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน แต่ประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของโรคนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือที่ทุกคนต้องช่วยกัน เพราะหลังจากสิงคโปร์ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นไปเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2563 มีผู้ใช้ไปแล้ว 1 ล้านคน ตามหลักการแล้วต้องมีผู้ใช้ 60% ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 4 ล้านคน จึงจะมีประสิทธิภาพในเกกณฑ์ที่น่าพึงพอใจ ในขณะเดียวกัน ความร่วมมือของภาคประชาชนเกี่ยวข้องกับการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งอาจ ไม่มั่นใจในระบบความปลอดภัยและไว้วางใจจึงจะยอมใช้งาน 

นอกจากนี้ ผู้ใช้ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งคือเจ้าหน้าที่ภาครัฐ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่มีข้อมูลผู้ป่วย หากไม่มีข้อมูลเหล่านี้แล้วก็จะทำให้การติดตามผู้ป่วยเป็นไปได้ยากมาก ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลอาจต้องยืดหยุ่นกับสถานการณ์ดังกล่าว

 483 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *