อว. สวทช. ปฏิวัติสตรีทฟู๊ด เปิดตัวนวัตกรรม “รถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู๊ด” สะอาด ปลอดภัย ยกระดับพ่อค้า-แม่ค้าอาหารริมทาง

(เมื่อวันที่ 13 – 14 กุมภาพันธ์ 2563) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ประจำภูมิภาค ภาคตะวันออก (ศวภ.4)
(เมื่อวันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2563) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

(14 กุมภาพันธ์ 2563) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานในงานแถลงข่าว “เปิดตัวนวัตกรรมรถเข็นรักษ์โลกเพื่อสตรีทฟู๊ด” ศูนย์บริการปรึกษาการออกแบบและวิศวกรรม (DECC) พัฒนาและออกแบบทางวิศวกรรม จนได้รถเข็นที่มีนวัตกรรมต้นแบบสำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้ในการขายอาหารริมทาง และยังตอบโจทย์นโยบาย BCG Economy Model เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก ณ ลานกลางแจ้ง ชั้น 1 โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร

ดร.สุวิทย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า “การพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่จะช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับฐานราก เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย กระทรวง อว. โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ริเริ่มและคิดค้นหาทางยกระดับสตรีทฟู๊ดที่ถือเป็นผู้ประกอบรายย่อย ให้เพื่อขีดความสามารถในการแข่งขันกับเศรษฐกิจระดับฐานราก โดยการนำองค์ความรู้ การวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้ามาช่วยยกระดับมาตรฐานทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย สุขอนามัย ความสะอาดของอาหารและผู้ปรุงอาหาร รวมไปถึงการทำให้สินค้าหรืออาหารนั้นคงมาตรฐานในเรื่องของการปรุงแต่งและรสชาติความอร่อยที่ไม่ต่างกัน สอดคล้องกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้ก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 นวัตกรรมในครั้งนี้ยังตอบโจทย์ผู้ประกอบการสตรีทฟู๊ดและกลุ่มของ Start up หรือธุรกิจ SMEs ให้สามารถสร้างรายได้สร้างโอกาสจากการขายสินค้าที่มีคุณภาพ ความสะอาด สดใหม่ สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ตอบรับกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหาร พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ชื่นชอบอาหารไทยและมีแนวโน้มชื่นชอบอาหารประเภทสตรีทฟู๊ด หรืออาหารท้องถิ่น (Local Food) ดังนั้นการยกระดับคุณภาพและความสะอาดปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวเชิงอาหารของประเทศเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น”


ด้าน ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า “สตรีทฟู๊ดอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย สำนักข่าว CNN ของสหรัฐอเมริกา จัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นเมืองที่มีอาหารริมทาง (Street Food) เป็นอันดับหนึ่งของโลก โดย สวทช. เข้ามาให้ความรู้และแก้ไขปัญหา กับผู้ประกอบการสตรีทฟู๊ดเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องของ ความสะดวก สะอาด ปลอดภัย ประหยัด แต่ยังคงรักษาถึงสเน่ห์ของผู้ปรุงอาหารและสินค้าให้คงเดิม ผ่านมาตรการ 4D Dfood, Design, Dmarketing และDinnovation เพื่อให้คงคุณภาพ มาตรฐาน ความสม่ำเสมอของสูตรอาหาร สินค้าและผลิตภัณฑ์ ให้ขยายต่อยอดได้อย่างยั่งยืน”

 450 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *