กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี (อว.) ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ “ยุวชนอาสา ระยะที่ 1” พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

อพวช. ร่วมกับ มจธ. จัดนิทรรศการ “นิโคลา เทสลา ยอดนักประดิษฐ์ ผู้คิดเปลี่ยนโลก” ขยายโอกาสการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษา
(เมื่อวันที่ 13 – 14 กุมภาพันธ์ 2563) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์ประสานงานกระทรวงวิทยาศาสตร์ประจำภูมิภาค ภาคตะวันออก (ศวภ.4)

(วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมแพรวา ชั้น 9 อาคาร 15 มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์ รศ.จิระพันธ์ ห้วยแสน อธิการบดีมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
ให้การต้อนรับ ศ.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นางวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วยคณะ และผู้เข้าร่วมโครงการ “ยุวชนอาสา ระยะที่ 1” พื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ จาก มหาวิทยาลัย 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉลิมพระเกียรติ สกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์ให้นิสิต/นักศึกษา สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานได้จริง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่หลากหลาย ซับซ้อน และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมทั้งนําองค์ความรู้และนวัตกรรมที่หลากหลายจากสถาบันอุดมศึกษามาบูรณาการกับชุมชน เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหา พัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

เมื่อต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ได้เริ่มดำเนินโครงการยุวชนอาสา ในพื้นที่เป้าหมายนําร่อง จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 15 อำเภอ เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในมิติต่าง ๆ
เช่น ด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหาคุณภาพชีวิตในชุมชน โดยมีนิสิต/นักศึกษา ระดับปริญญาตรี จากหลากหลายสาขาวิชา เข้าร่วมโครงการ จำนวน 83 โครงการ เพื่อเข้าไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ศึกษาวิเคราะห์ และประมวลผลปัญหาของชุมชน และให้ความช่วยเหลือในการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน (1 ภาคการศึกษา) โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่ เป็นที่ปรึกษา และนิเทศงานให้กับกลุ่มนิสิต/นักศึกษา นอกจากนี้ กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ยังได้กำหนดแนวทางให้สถาบันอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการยุวชนอาสา ทำการพัฒนาและจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการร่วมกับการปฏิบัติงานในชุมชน (Community Integrated Learning: CIL) โดยโครงงานที่นิสิต/นักศึกษา ได้ดำเนินการร่วมกับชุมชน (Project-based Learning : PBL) เพื่อตอบสนองต่อปัญหา และความต้องการเชิงพื้นที่ของชุมชน (Area-based) สามารถเทียบโอนหน่วยกิตในระบบการศึกษาได้ ศ.ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวว่า ได้เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างโอกาสให้นิสิต/นักศึกษา ได้นําองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา มาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและส่งเสริมให้ชุมชน สามารถพึ่งพาตนเองได้ ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนในมิติต่าง ๆ โดยการสร้างหรือนําองค์ความรู้ที่หลากหลายในสถาบันอุดมศึกษามาบูรณาการร่วมกับชุมชน ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการดําเนินงานด้านการผลิตและพัฒนากําลังคน ระดับอุดมศึกษา กระทรวง อว. จึงได้มีนโยบายด้านการอุดมศึกษาให้สร้างและพัฒนาคนไทยเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขับเคลื่อนหลักสูตรอุดมศึกษายุคใหม่ให้เข้ากับอาชีพแห่งอนาคต สร้างบัณฑิตสู่โลกใบใหม่แห่งศตวรรษที่ 21 และขับเคลื่อนการพัฒนาทักษะแห่งอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการใช้ศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศด้วยปัญญาจากฐานราก และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น ศ.ศุภชัย ปทุมนากุล เผยว่า กระทรวง อว. เชื่อว่ายุวชนเป็นคนกำหนดอนาคตของประเทศ “Youth as a Future Changer” จึงได้มีการจัดทำโครงการยุวชนอาสา เพื่อผลิตบัณฑิตในศตวรรษที่ 21 ที่มีคุณภาพ โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ที่เน้นการเรียนการสอนในสถานศึกษาควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานจริง

Download powerpoint http://www.ttc.most.go.th/wp-content/uploads/2020/02/บรรยายปฐมนิเทศยุวชนอาสา15feb2020-1.pdf
http://www.ttc.most.go.th/wp-content/uploads/2020/02/ยุวชนอาสากาฬสินธุ์-15.2.63-1.pdf

 2,398 total views,  1 views today

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *